ข้อมูลชุดดินอำเภอ
 
     
 
 
 
 
     
  กลุ่มชุดดินที่ 2 ตำบลคู้สลอด ตำบลคลองพระยาบันลือ ตำบลพระยาบันลือ ตำบลสามเมือง

ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินบนมีสีเทาหรือเทาแก่ ดินล่างมีสีเทา จุดประสีน้ำตาลและสีเหลืองหรือสีแดง พบตามที่ราบลุ่มภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ มีน้ำแช่ขังลึก 20-50 ซม. นาน 3-5 เดือน ถ้าเป็นดินที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลจะพบสารจาโรไซต์สีเหลืองฝางในระดับความลึกเป็นดิน ลึก มีการระบายน้ำเลว ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง pH 4.5-5.5 ได้แก่ ชุดดินอยุธยา บางเขน บางน้ำเปรี้ยว ท่าขวาง ชุมแสง บางปะอิน และมหาโพธิ์

ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ปฏิกิริยาดินค่อนข้างเป็นกรดจัด ฤดูฝนน้ำขังนาน 3-5 เดือน

ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช : เนื่องจากสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงราบลุ่มเนื้อดินเป็นดิน เหนียว การระบายน้ำเลว ในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำขังอยู่ที่ผิวดินระหว่าง 4-6 เดือน จึงมีศักยภาพเหมาะสมที่จะใช้ทำนาในช่วงฤดูฝน แต่สามารถ ปลูกพืชไร่ พืชผัก หรือพืชอื่นที่มีอายุสั้นได้ในช่วงฤดูแล้ง สำหรับในบริเวณพื้นที่ที่มีน้ำ ชลประทานเข้าถึงหรือแหล่งน้ำ ธรรมชาติ ถ้าใช้ปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผล หรือปลูกพืชไร่และพืชผักตลอดทั้งปีจะต้องทำคันดิ ล้อมรอบพื้นที่เพาะปลูกและยก ร่องปลูกเพื่อช่วยการระบายน้ำของดิน

การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 2
ปลูกข้าวหรือทำนา เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน โดยการปลูกพืชบำรุงดินปฏิบัติเหมือนกลุ่มชุดดินที่ 1 แก้ไขเนื้อดินเหนียว และมีโครงสร้างค่อนข้างแน่นทึบ ด้วยปุ๋ยอินทรีย์ เช่นปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1.5-2.0 ตัน/ไร่ หรือใช้วัสดุปรับปรุงดินอย่างอื่น เช่น ขี้เลื่อย แกลบ กากน้ำตาล เป็นต้น ไถคลุกเคล้า และกลบลงในดิน ใส่ปูนมาร์ล หินปูนบด หรือหินปูนฝุ่นเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง อัตรา 0.5-1.0 ตัน/ไร่ ไถคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ปล่อยน้ำแช่ ประมาณ 10 วัน แล้วระบายน้ำออกแล้วค่อยขังน้ำใหม่ เพื่อทำเทือกและรอปักดำ หรือใช้น้ำล้างความเป็นกรดของดิน ประมาณ 4-5 ครั้ง ปุ๋ยเคมี ครั้งที่ 1 ที่ใช้สูตร 16-20-0 อัตรา 25-40 กก./ไร่ หรือสูตร 16-16-8 อัตรา 30-40 กก./ไร่ ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยยูเรีย 5-10 กก./ไร่ ใส่เมื่อข้าวตั้งท้อง พันธุ์ข้าวที่แนะนำ เช่น ขาวตาหยก ไข่มุก สีรวง ลูกเหลือง ขาวดอกมะลิ 105 กข 7 กข 13 สุพรรณบุรี 90 เล็บมือนาง

ปลูกพืชไร่ กรณีปลูกในช่วงฤดูแล้งหรือหลังเก็บเกี่ยวข้าวให้ยกร่องปลูกสูง 10-20 ซม. ทำร่องภายในแปลงห่างกันประมาณ 8-12 เมตร และร่อง 40-50 ซม. ลึก 20-30 ซม. เพื่อช่วยระบายน้ำใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1.5 - 2.0 ตัน/ไร่ หรือปลูกพืชตระกูลถั่วไถกลบไปในดิน ในกรณีดินเป็นกรดให้ใส่ปูนในรูปต่าง ๆ เป็นปูนขาว ปูนมาร์ล อื่น ๆ ที่หาได้ง่าย ใช้อัตรา 1-2 ตัน/ไร่ หว่านให้ทั่วแปลง ไถคลุกเคล้ากับดินทิ้งไว้ประมาณ 15 วันก่อนปลูกพืช กรณีเปลี่ยนพื้นที่นาเป็นพืชที่ทำไร่แบบถาวร ให้สร้างคันดินรอบพื้นที่ปลูก ภายในพื้นที่ยกร่องปลูกแบบถาวร สันร่องปลูกกว้าง 6-8 เมตร คูกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร บนร่องยกแปลงย่อยสูง 10-20 ซม. กว้าง 1.5 - 2.0 เมตร

การใช้ปุ๋ยเคมี เช่น ข้าวโพดหวาน ใช้ปุ๋ยสูตร 20-20-20 หรือสูตร 15-15-15 อัตรา 50-100 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละเท่า ๆ กัน คือ รองก้นหลุมก่อนปลูก และเมื่ออายุ 25 วันและใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 10 กก./ไร่ โรยข้างแถวข้าวโพด พูนดินกลบโคน เมื่ออายุ 25-30 วัน

ถั่วเขียว ถั่วลิสง ใช้สูตร 12-24-12 อัตรา 30 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละ เท่า ๆ กัน ครั้งแรกใส่รองพื้น และเมื่อต้นถั่วอายุ 20-25 วัน โรยปุ๋ยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ ควรคลุกไรโซเบียมก่อนปลูก

อ้อย สำหรับอ้อยเริ่มปลูกใช้สูตร 16-8-8 หรือ 16-6-6 อัตรา 70-90 กก./ไร่ หรือสูตร 18-6-6 หรือสูตร 18-8-8 อัตรา 65-58 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง สำหรับอ้อยใช้สูตร 14-14-14 หรือสูตร 15-15-15 หรือ สูตร 16-16-16 อัตรา 40-50 กก./ไร่ ร่วมกับสูตร 46-0-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง โรยข้างแถวแล้วพรวนดิน

ฝ้าย ใส่หินฟอสเฟต อัตรา 100-200 กก./ไร่ ร่วมกับใช้ปุ๋ยสูตร 18-4-5 อัตรา 30-40 กก./ไร่ ร่วมกับสูตร 25-7-7 อัตรา 20-30 กก./ไร่ ในช่วงหลังปลูก 20-25 วัน
ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น เตรียมพื้นที่ปลูกเพื่อแก้ปัญหาการระบายน้ำของดินและน้ำท่วมขัง ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเตรียมพืชที่ปลูกพืชไร่ที่ได้กล่าวแล้ว การแก้ความเป็นกรดของดิน ใส่ปูนลดความเป็นกรดเช่นเดียวกับพืชไร่ หรือใส่ในหลุมปลูกอัตรา 15 กิโลกรัม/หลุม
การใช้ปุ๋ยเคมี เช่น

มะม่วง ส้มเขียวหวาน ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 1 กก./ต้น เมื่อต้นอายุ 1-2 ปี และใช้อัตรา 1.5-3 กก./ต้น เมื่อต้นอายุ 3-6 ปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี

มะพร้าว ใช้สูตรและอัตราดังต่อไปนี้ อายุ 1 ปี ใช้สูตร 15-15-15 หรือสูตรอื่นสูตรที่มีธาตุอาหารเท่าหรือใกล้เคียงกัน อัตรา 1 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 2 ปี ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 2 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 3-4 ปี ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 2 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 5 ปี ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 2.5 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 6 ปีขึ้นไป ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 3 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี

ส้มโอ ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่ 2 ครั้ง/ปี ดังนี้ อายุ 1 ปี ใช้อัตรา 1 กก./ต้น อายุ 2 ปี ใช้อัตรา 2 กก./ต้น อายุ 3 ปี ใช้อัตรา 3 กก./ต้น อายุ 5 ปี ใช้อัตรา 5 กก./ต้น

กลุ่มชุดดินที่ 3 ตำบลหลักชัย

ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว ดินบนเป็นสีเทาเข้ม สีน้ำตาลปนเทาเข้ม ดินล่าง เป็นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน มีจุดประสีน้ำตาลแก่ สีน้ำตาลปนเหลือง สีแดงปนเหลือง พบตามที่ ราบลุ่มหรือที่ราบเรียบ เป็นดินลึก มีการระบายน้ำเลว ฤดูฝนขังน้ำลึก 20-50 ซม. นาน 4-5 เดือน ฤดูแล้งดินแห้งแตกระแหงเป็นร่องกว้างลึก ถ้าพบบริเวณชายฝั่งทะเล มักมีเปลือกหอยอยู่ในดินชั้นล่าง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง มีปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถ้าเป็นกรดเล็กน้อย มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างปริมาณ 5.5-6.5 ส่วนดินชั้นล่างหากมีเปลือกหอยปะปน จะมีปฏิกริยาเป็นด่างอ่อนหรือมีค่าความเป็นด่างประมาณ 7.5-8.0 ได้แก่ชุดดินสมุทรปราการ บางกอก ฉะเชิงเทรา พิมาย บางแพ และสิงห์บุรี ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ทำนา หรือยกร่องปลูกพืชผักและไม้ผล ซึ่งไม่ค่อยจะมี ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ถ้าเป็นที่ลุ่มมาก ๆ จะมีปัญหาเรื่องน้ำท่วมในฤดูฝน

ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช : ในสภาพปัจจุบันสภาพพื้นที่มีศักยภาพเหมาะสมในการทำนา เนื่องจากสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงเกือบราบเรียบ เนื้อดินเป็นดินเหนียว การระบายน้ำเลว ในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำขังที่ผิวดินนาน 4-5 เดือน แต่สามารถปลูกพืชไร่และพืชผักบางชนิดได้ในช่วงฤดูแล้งหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วไม่เหมาะที่จะปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น เพราะมีน้ำท่วมขังลึกในฤดูฝน อย่างไรก็ตามสามารถเปลี่ยนสภาพการใช้ประโยชน์จากนาข้าวเป็นปลูกพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักได้ ถ้าได้มีการพัฒนาที่ดิน โดยการทำคันดินรอบพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมและยกร่องปลูกเพื่อช่วยการระบายน้ำของดิน

การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 3
ปลูกข้าวหรือทำนา เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินปฏิบัติเหมือนกลุ่มชุดดินที่ 1 และแก้ไขเนื้อดินเหนียว โดยหว่านปุ๋ยอินทรีย์ ก่อนปลูกข้าวทั่วแปลงอัตรา 1.5-2.0 ตัน/ไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีกับพันธุ์ข้าวไวแสงและพันธุ์ข้าวไม่ไวแสง ใช้ปุ๋ยสูตร และอัตราเดียวกับที่ปฏิบัติในกลุ่มชุดดินที่ 1

ปลูกพืชไร่ กรณีทำการปลูกในช่วงฤดูแล้งหรือกรณีเปลี่ยนพื้นที่นาเป็นพื้นที่ทำไร่ถาวรให้ยกร่องปลูก และทำร่องรอบกระทงนา เพื่อระบายน้ำออก ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1.5 - 2.0 ตัน/ไร่ การยกร่องและการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการปลูกพืชไร่ ในกลุ่มชุดดินที่ 2
การใช้ปุ๋ยเคมี เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ใช้สูตร 20-20-0 กรณีดินมีฟอสฟอรัสต่ำ อัตรา 25 กก./ไร่ ใส่รองก้นหลุมทั้งหมดหรือใส่ข้างแถวแล้วพรวนดินกลบโคน เมื่ออายุ 25-30 วัน ถ้าดินมีฟอสฟอรัสสูง ใส่สูตร 21-0-0 อัตรา 40-60 กก./ไร่

พืชตระกูลถั่ว ใส่สูตร 0-46-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ ตอนปลูกหรือหลังปลูก 20-25 วัน

อ้อย สำหรับอ้อยปลูกใส่สูตร 20-10-10 อัตรา 50 กก./ไร่ ใส่ครั้งเดียว เมื่ออายุ 30-60 วัน สำหรับอ้อยตอ ใช้สูตร 10-5-5 อัตรา 40-50 กก./ไร่ ใส่ครั้งเดียว

ฝ้าย ใช้สูตร 21-0-0 อัตรา 20-30 กก./ ไร่ หรือ 46-0-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ กรณีดินมีธาตุฟอสฟอรัสต่ำใส่สูตร 20-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ .ใส่หลังปลูก 20-25 วัน

ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น เตรียมพื้นที่ปลูกเพื่อแก้ปัญหาการระบายน้ำของดินและน้ำท่วมขัง ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเตรียมพื้นที่ปลูก พืชไร่ที่ได้กล่าวมาแล้ว
การใช้ปุ๋ยเคมี เช่น

มะม่วง ส้มเขียวหวาน ใช้สูตร 15-15-15 ต้นอายุ 1-2 ปี ใส่ 1 กก./ต้น/ปี ต้นอายุ 3 ปี ใส่ 1.5 กก./ต้น/ปี ต้นอายุ 5 ปี ใส่ 2.5 กก./ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง

มะพร้าว อายุ 1-2 ปี ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 กก./ต้น/ปี อายุ 3-6 ปี ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 2-3 กก./ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี

ส้มโอ ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่ 2 ครั้ง/ปี ดังนี้ อายุ 1 ปี ใช้อัตรา 1 กก./ต้น อายุ 2 ปี ใช้อัตรา 2 กก./ต้น อายุ 3 ปี ใช้อัตรา 3 กก./ต้น อายุ 4 ปี ใช้อัตรา 4 กก./ต้น อายุ 5 ปี ใช้อัตรา 5 กก./ต้น

ปาล์มน้ำมัน(ปลูกเฉพาะภาคใต้)
อายุ 1 ปี ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1.5 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ปีละ 4-5 ครั้ง
อายุ 2 ปี ใส่ปุ๋ยสูตร 15-10-30 อัตรา 2.5 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ปีละ 4-5 ครั้ง
อายุ 3 ปี ใส่ปุ๋ยสูตร 15-10-30 อัตรา 3.5 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง คือช่วงต้น กลางและปลายฤดูฝน
อายุ 4 ปี ใส่ปุ๋ยสูตร 10-10-30 อัตรา 4.5 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง คือ ช่วงต้น กลางและปลายฤดูฝน อายุ 5 ปีขึ้นไป ใส่ปุ๋ยสูตร 10-10-30 อัตรา 5.5 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง คือ ช่วงต้น กลางและปลายฤดูฝน


กลุ่มชุดดินที่ 4 ตำบลลาดบัวหลวง ตำบลสิงหนาท

ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว ดินบนมีสีน้ำตาลปนเทาหรือสีน้ำตาล ดินล่างมีสีน้ำตาลปนเทา หรือสีน้ำตาล หรือสีเทาปนสีเขียวมะกอกมีจุดประสีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีน้ำตาลแก่ อาจพบก้อนปูน ก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็ก และแมงกานีสในชั้นดินล่าง การระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว พบตามที่ราบเรียบหรือที่ราบลุ่มระหว่างคันดินริมลำน้ำ กับลานตะพักลำน้ำค่อนข้างใหม่ น้ำแช่ขัง ในฤดูฝนลึก 30 - 50 ซม. นาน 4-5 เดือน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง pH 5.5-6.5 ถ้าหากดินมีก้อนปูนปะปนอยู่ pH จะเป็น7.0-8.0 ได้แก่ ชุดดินชัยนาท ราชบุรี ท่าพล และสระบุรี, บางมูลนาค ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ทำนา บางแห่งยกร่องเพื่อปลูกพืชผักหรือไม้ผล ซึ่งมักจะให้ผลผลิตค่อนข้างสูง

ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ในฤดูฝนมีน้ำแช่ขังนาน 4 - 5 เดือน

ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช : สภาพพื้นที่ราบลุ่มมีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงเกือบราบเรียบ ดินมีสภาพการระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว ในช่วงฤดูฝนมีน้ำขังที่ผิวดินเป็นระยะเวลา 4-5 เดือน เนื้อดินเป็นดินเหนียวเก็บกักน้ำได้ดี จึงเหมาะสมที่จะใช้ในการทำนามากกว่าการปลูกพืชอย่างอื่น อย่างไรก็ตามหลังการเก็บเกี่ยวข้าวหรือในช่วงฤดูแล้งกลุ่มชุดดินนี้ สามารถใช้ในการปลูกพืชไร่หรือพืชผักที่มีอายุสั้นได้เป็นอย่างดี เนื่องจากดินมีความชื้นพอที่จะปลูกได้และดินกลุ่มนี้พบบริเวณที่อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำสายสำคัญจึงสามารถที่จะนำน้ำจากแม่น้ำดังกล่าวมาใช้เสริมในการปลูกพืชได้และได้มีการปฏิบัติกันอย่างกว้าง ขวางในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 4
ปลูกข้าวหรือทำนา เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินปฏิบัติเช่นเดียวกับกลุ่มชุดดินที่ 3
การใช้ปุ๋ยเคมี ใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรก ใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ สูตร 20-20-0 หรือ สูตร 18-20-0 สูตรใดสูตรหนึ่ง อัตรา 20 กก./ไร่ สำหรับข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสงและอัตรา 35 กก./ไร่ สำหรับข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงใส่ก่อนปักดำ 1 วัน หรือใส่วันปักดำแล้วคราดดินกลบ ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยแต่งหน้าด้วยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 15 กก./ไร่ หรือปุ๋ยยูเรียอัตรา 6 กก./ไร่ สำหรับข้าวไวต่อช่วงแสง ถ้าเป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงให้ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตอัตรา 13 กก./ไร่ ให้ใส่ก่อนระยะข้าวออกดอกประมาณ 30 วัน หรือหลังปักดำแล้ว 30-45 วัน โดยหว่านให้ทั่วแปลง พันธุ์ข้าวที่แนะนำ เช่น ขาวตาหยก ไข่มุก รวงยาว สีรวง ลูกเหลือง เหลืองประทิว 123 ขาวดอกมะลิ 105 กข 7 กข. 13 กข 23 สุพรรณบุรี 90 ปลูกพืชไร่ กรณีปลูกพืชไร่ในช่วงฤดูแล้งหรือหลังเก็บเกี่ยวข้าว เตรียมพื้นที่ เพาะปลูก ให้ทำร่องระบายน้ำรอบกระทงนาและทำร่องภายในกระทงนา ห่างกันประมาณ 10-15 เมตร ร่องกว้าง 40-50 ซม. ลึก 20-30 ซม. เพื่อช่วยระบายน้ำหรือให้น้ำดูแลพืชปลูก กรณีเปลี่ยนสภาพพื้นที่จากนาข้าวเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่แบบถาวร ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับ กลุ่มชุดดินที่ 1 การใช้ปุ๋ยเคมี เช่น พืชตระกูลถั่ว ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 0-46-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ หรือสูตร 0-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ ใส่รองก้นร่องปลูกหรือโรยสองข้างแถวปลูกแล้วพรวนดินกลบ เมื่อถั่วอายุได้ 20-25 วัน

ข้าวโพดและข้าวฟ่าง ใส่ปุ๋ยสูตร 20-20-0 อัตรา 40-50 กก./ไร่ หรือสูตร 23-23-0 อัตรา 35-45 กก./ไร่ โรยทั้งแถวปลูกแล้วพรวนดินกลบเมื่อข้าวโพด ข้าวฟ่าง อายุ 20-25 วัน หรือใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ โดยใส่รองก้นหลุม ร่วมกับปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 20-30 กก./ไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 10-15 กก./ไร่ โรยสองข้างแถวแล้วพรวนดินกลบเมื่อข้าวโพดหรือข้าวฟ่าง อายุ 20-25 วัน

ฝ้าย การใช้ปุ๋ยเคมีสูตรและอัตราให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับกลุ่มชุดดินที่ 3
ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น เตรียมพื้นที่ปลูกเพื่อแก้ปัญหาการระบายน้ำของดินและน้ำท่วมขัง โดยทำคันดินล้อมรอบพื้นที่ ยกร่องปลูกไม้ผล เพื่อป้องกันการแช่ขังของน้ำ และเพื่อระบายน้ำออกในช่วงที่มีระดับน้ำใต้ดินตื้น เตรียมหลุมปลูกขนาด 50 x 50 x 50 ซม. คลุกเคล้าด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 25-30 กก./หลุม
การใช้ปุ๋ยเคมี เช่น มะม่วง เช่น พันธุ์เขียวเสวย ทองดำ ฟ้าลั่น หนังกลางวัน น้ำดอกไม้ การใช้ปุ๋ยเคมีให้ใช้อัตราครึ่งหนึ่งของจำนวนอายุ เช่น มะม่วง อายุ 10 ปี ก็ใส่ปุ๋ย จำนวน 5 กก./ต้น แบ่งการใช้ปุ๋ย 3 ครั้ง ๆ ละเท่ากันดังนี้ ครั้งที่ 1 ใช้ปุ๋ย 13-13-21 ใส่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ย 15-15-15 ใส่ในช่วงเดือนพฤษภาคม และครั้งที่ 3 ใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 หรือ 8-24-24 ในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม

มะละกอ พันธุ์ที่แนะนำได้แก่ โก้โก แขกดำ จำปาดะ สายน้ำผึ้ง ฮาวาย มาเลเซีย ใช้สูตร 14-12-12 หรือ 20-15-15 ควรใส่หลังจากย้ายปลูก 2-3 อาทิตย์ ถึงมะละกออายุได้ 1 ปี ใส่ปุ๋ย 1 กก./ต้น/ปี หลังจากอายุได้ 1 ปีขึ้นไป ใส่ประมาณ 1-1.5 กก./ต้น/ปี

ฝรั่ง พันธุ์ที่แนะนำ ได้แก่ พันธุ์เวียดนาม พันธุ์ทูลเกล้า กลมสาลี การใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 อัตราประมาณ 1 กก./ต้น/ปี ควบคู่ไปกับการใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 10 กก./ต้น

กล้วยหอม พันธุ์ที่แนะนำได้แก่ กล้วยหอมทอง ใส่ปุ๋ยคอกหรือใส่ปุ๋ยหมัก เมื่ออายุได้ 1 สัปดาห์ 1 เดือน และ 2 เดือน ตามลำดับครั้งละประมาณ 5 กก./ต้น ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 1 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง เมื่ออายุ 3 เดือน และ 5 เดือ