"เมืองเกษตรปลอดภัย ให้อาหารข้าวทางใบ โอท็อปขึ้นชั้นบรรลือ เขตร์นี้คือเมืองคนดีศรีอยุธยา"
 
 
 
 
 
 
น้ำมะหวด
 
 
 
ชื่ออื่น กะซ่ำ กำซ่า (ภาคกลางบางแห่ง) กำจำ หมกจำ (ใต้) หวดเหล้า(พายัพ) สีหวด(โคราช) สีหวดใหญ่ (บางภาคเรียก)    
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
การใช้ประโยชน์
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม แตกกิ่งทรงพุ่มสวย สูงราว 3-5 เมตร   ใช้เป็นอาหาร ผลสุกงอม รับประทานเป็นผลไม้ และทำน้ำผลไม้
ใบ เป็นใบประกอบ ใบย่อยเป็นรูปหอกเรียว ปลายใบและโคนใบแหลม มีขนคาบน้อย ๆ   คุณค่าทาง โภชนาการ ผลสุก มีน้ำตาล มีสารฝาดสมาน และอื่น ๆ
ดอก ออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายยอด ดอกย่อยมีสีแดงอมขาว   ใช้เป็นยา ราก รักษาอาการไข้ ตำพอกศีรษะ และแก้อาการปวดศีรษะ เมล็ด ต้มกับน้ำ ให้เด็กรับประทานแก้ไข้ซาง
ผล เป็นรูปกลมยาว คล้ายผลหว้า ผลอ่อนมีสีแดง สุกงอมมีสีม่วงดำ เนื้อผลหวาน ภายในมีเมล็ด 1 เมล็ด น้ำมะหวด

ส่วนผสม
มะหวดสุก 1 ถ้วย
น้ำต้มสุก 1 ถ้วย
น้ำเชื่อม
เกลือป่น

วิธีทำ
เลือกมะหวดที่สุกงอม ล้างน้ำให้สะอาด ใส่ภาชนะ เติมน้ำต้มสุก ยีให้เมล็ดออกจาก เนื้อให้มากที่สุด เติมน้ำต้มสุกลงไปอีก กรองเอาเมล็ดและเปลือกออก เติมน้ำเชื่อม เกลือป่นเล็กน้อย จะได้น้ำมะหวด สีม่วงอ่อน น่าดื่ม