คำขวัญอำเภอนครหลวง <<< มีดอรัญญิกลือนาม สง่างามปราสาทนครหลวง โชติช่วงเกษตรอุตสาหกรรม เลิศล้ำภูมิปัญญาไทย >>> //วิสัยทัศน์ <<<มุ่งส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ให้อยู่ดี มีสุข อย่างยั่งยืน >>>
 
ปราสาทนครหลวง
มณฑปพระบาทสี่รอย
ศาลาพระจันทร์ลอย
ปราสาทนครหลวง
              จากการพบรอยพระพุทธบาท ที่เมืองสระบุรี พ.ศ. 2145 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม   จึงเสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาทโดยทางชลมารค และสถลมารค และได้โปรดเกล้าให้สร้างตำหนักเป็นที่ประทับระหว่างทาง และสันนิษฐานว่าได้โปรดฯ ให้สร้างตำหนักขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ที่ตำบลริดวัดเทพจันทร์ ใกล้แม่น้ำป่าสัก  ซึ่งสันนิษฐานว่า  ตำหนักนี้คงถูกแปลง เป็นวิหารในวัดใหม่ประชุมพล อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ที่ครองกรุงศรีอยุธยา ต่อจากนั้น มาทุกพระองค์จะต้องเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธบาท
               ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โปรดฯให้สร้างตำหนัก รวมทั้งศาลาที่พักของพระองค์และราษฎร์ ระหว่าง ทางหลายแห่ง ปัจจุบันพังทลายไปแล้ว   และถูกสร้างทับเป็นศาลาพระจันทร์ลอย  ประดิษฐานธรรมจักรศิลา  ภายในบริเวณ เดียวกันกับวัดนครหลวง
               ตามหลักฐานที่ปรากฎในพงศาวดาร ในปี พ.ศ. 2147 สมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดฯ   ให้ช่างไปถ่ายแบบ ปราสาทเมืองพระนครหลวง ในประเทศกัมพูชา มาสร้างใกล้วัดเทพพระจันทร์ อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
               จากการดำเนินงานทางโบราณคดี ได้พบว่า วัตถุประสงค์แรกเริ่มของการสร้างปราสาทนครหลวง   คือ เพื่อให้ เป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนา มิใช่ที่ประทับระหว่างทางในการเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาทดังที่เข้าใจกันมาแต่เดิมสำหรับตำหนักที่ประทับพักร้อนนั้น คือ ตำหนักนครหลวง
               การก่อสร้างปราสาทนครหลวงยังไม่แล้วเสร็จในสมัยพระเจ้าปราสาททอง     และถูกทิ้งร้างอยู่เป็นระยะเวลา ยาวนาน โดยไม่มีกษัตริย์องค์ใดสร้างต่อแต่อย่างใด จนใน   พ.ศ. 2356 ตาปะขาวปิ่น  ได้สร้างวัดนครหลวงขึ้นมาโดยรวม เอาปราสาทนครหลวงเข้าไว้ในเขตวัดด้วย  และได้สร้างพระบาทสี่รอยไว้บนลานชั้นที่ 3  ของปราสาทนครหลวง  ต่อมาใน สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ประมาณ  พ.ศ.  2446   พระครูวิหารกิจจานุการ (ปลื้ม)   เมื่อครั้งยังเป็นพระปลัดอยู่นั้น    ได้รวบรวมกำลังศรัทธาประชาชน และพระบรมศานุวงศ์มาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนครหลวง   ในส่วนของปราสาทนครหลวงนั้น บนลานชั้นที่ 3 ปฏิสังขรณ์พระพุทธรูป มณฑป พระบาทสี่รอย มณฎประจำมุม ประจำด้าน วิหารคด เก้าอี้ศิลปะแบบจีนขึ้นแทนสิ่งก่อสร้างเดิม ซึ่งสร้างในสมัยพระเจ้าปราสาททอง
มณฑปพระบาทสี่รอย   สร้างขึ้นบนลานชั้นบนของปราสาทนครหลวง ตรงตำแหน่งที่เคยพบซากปรางค์ประธาน เป็นมณฑปทรงจตุรมุข ขนาด 8 คูณ 19 เมตร ก่ออิฐถือปูน มีประตูทางเข้ามุขละ 2 ประตู  ที่หน้ามุขด้านตะวันตก   จารึกปีที่ ปฏิสังขรณ์มณฑปหลังนี้  เมื่อ พ.ศ. 2446   ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบาทสี่รอย   ที่คูหามุขแต่ละมุขมีพระพุทธรูปตั้งอยู่มุขละ 2 - 4 องค์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นซึ่งแกนในของพระองค์จะเป็นหอนทราย   ชั้นส่วนของพระพุทธรูปที่สร้างมาตั้งแต่ สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
               พระบาทสี่รอยที่ประดิษฐานอยู่ในมณฑปจตุรมุขนี้ มีลักษณะเป็นพระบาทศิลารอยใหญ่ซ้อนกันสี่รอยลึกลงไปใน เนื้อหิน ตามคตินิยมทางพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน นิยมการสลักหินเป็นพุทธบูชา เปรียบรอยพระบาทกับอดีตพุทธ 4 องค์ คือรอยที่หนึ่ง หมายถึง พระพุทธกกุสนธ์  รอยที่สอง หมายถึง พระพุทธโกนาคมน์  รอยที่สาม หมายถึง พระพุทธกัสสป และรอยที่สี่ หมายถึง พระพุทธโคดม
 ศาลาพระจันทร์ลอย   ตั้งอยู่ห่างจากปราสาทนครหลวงประมาณ  90  เมตร   จากการดำเนินการขุดแต่งเมื่อปี
พ.ศ. 2534   พบแนวพื้นปูอิฐ   ทำให้ทราบว่าศาลาพระจันทร์ลอยสร้างคร่อมทับสิ่งก่อสร้างเก่าหลังหนึ่ง  และจากหลักฐาน เอกสารสันนิษฐานว่า  ซากสิ่งก่อสร้างนั้น   คือ ตำหนักนครหลวง  ซึ่งสมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้ ประทับร้อนระหว่างทางเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคไปนมัสการพระพุทธบาทสี่รอย   จังหวัดสระบุร  ี แต่ก่อนมา จาก สภาพซากตำหนักที่พระบาทสมเด็จพระจุมจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในระยะทางเสด็จประพาสมณฑลอยุธยา
เมื่อ พ.ศ. 2421 ทำให้สันนิษฐานว่า ตำหนักนครหลวงคงจะมีลักษณะเป็นตำหนักยาวอย่างพระที่นั่งจันทรพิศาลใน พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี
               ศาลาพระจันทร์ลอยที่เห็นกันในปัจจุบันเป็นอาคารจตุรมุข เป็นของที่ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระปลัด (ปลื้ม)  ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระครูวิหารกิจจานุการ อาคารทรงจตุรมุข ดังกล่าวเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีบันไดทางขึ้นเตี้ย ภายในประดิษฐานพระจันทร์ลอย
               แผ่นศิลาที่ชาวบ้านเรียกกันว่า พระจันทร์ลอย   ซึ่งประดิษฐานอยู่ในมณฑปจตุรมุขนี้เดิมอยู่ที่วัดเทพพระจันทร์ (ปัจจุบันชื่อวัดเทพพระจันทร์ลอย)   ตำบลนครหลวง  อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  แต่พระวิหารกิจจานุการ (ปลื้ม) ได้นำมาประดิษฐานไว้ที่อาคารหลังนี้ พระจันทร์ลอยนี้เป็นแผ่นหินแกรนิตรูปวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร หนา 6 นิ้ว  ด้านหน้าสลักเป็นรูปเจดีย์  2  องค์  พระพุทธรูป  3  องค์  เจดีย์องค์หนึ่งเป็นรอยสลักอยู่เดิม   แต่เจดีย์อีกองค์หนึ่งและ พระพุทธรูปสามองค์มีปูนปั้นพอกให้นูนเด่นออกมามากกว่าหน้าศิลาคงจะมีผู้ทำขึ้นภายหลังด้านใต้มีรอยสลักลายตรงกลางมี รูปต่าง ๆ  ที่ปรากฎชัดเป็นรูปปลา 2 ตัว เหมือนสัญลักษณ์ราศรีมีน ต่อจากลายมาสลักเป็นลวดโค้งเหมือนรอยต้นพระบาท ลายเหล่านี้ลบเลือนมาก สันนิษฐานได้ว่าแผ่นศิลาพระจันทร์ลอยนี้คือ ธรรมจักร ซึ่งยังทำไม่เสร็จ
   มีดอรัญญิก   นับเวลาย้อนถอยไปเมื่อหลายร้อยปีก่อน อาชีพตีมีดของชาวบ้านต้นโพธิ์ - ไผ่หนอง ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รู้จักกันในนามมีด "อรัญญิก" ไม่สามารถระบุได้ชัดว่าคนบ้านต้นโพธิ์ - ไผ่หนอง เริ่มตีมีดเพื่อการสงครามหรือว่าเพื่อการค้าขายกันแน่  มีประวัติพอสังเขปว่า ชาวบ้านดั้งเดิมของบ้านต้นโพธิ์ - ไผ่หนองนั้นเป็นคนเวียงจันทร์ที่อพยพมา เนื่องจากใน ขณะนั้น เวียงจันทร์เกิดทุกข์เข็ญ ข้าวยากหมากแพง มีโจรผู้ร้ายชุกชุม "นายเทา" หรือ "ขุนนราบบริรักษ์" (ได้รับแต่งตั้ง บรรดาศักดิ์ในสมัยรัชกาลที่ 5) จึงเป็นผู้นำครอบครัวย้ายถิ่นฐานมา โดยนำวิชาช่างสิบหมู่ คือ ช่างทอง ช่างตีมีด ติดตัวกันมาด้วย เพื่อที่จะนำมาประกอบอาชีพทำทองรูปพรรณ เช่น ทำสร้อยข้อมือ แหวน ฯลฯ ตามแต่จะมีคนว่าจ้างมา ซึ่งต่อมา เศรษฐกิจของคนทั่วไปไม่สู้ดีนัก การสั่งทำเครื่องทองรูปพรรณน้อยลง "นายเทา และครอบครัว" จึงหันมาตีมีดเป็นอาชีพ กันมากขึ้น เรื่อยมาถึงทุกวันนี้
หมู่บ้านสาไร (หมู่บ้านผลิตมีดอรัญญิก)   บ้านสาไร ตั้งอยู่หมู่ 5 ต.ท่าช้าง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นหมู่บ้าน ซึ่งแยกออกมาจากหมู่บ้านไผ่หนอง หมู่บ้านต้นโพธิ์ มีประชากรหนาแน่น เป็นแหล่งผลิตมีดแห่งหนึ่งของประเทศ ทำกันมายาวนานประมาณเกือบ 200 ปี กลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมมาจากเวียงจันทร์ ประเทศลาวแยกออกมาจาก บ้านต้นโพธิ์ไผ่หนอง ซึ่งชาวเวียงจันทร์กลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีอาชีพทำทอง ตีเหล็ก ตามสภาพของแต่ละครอบครัว ทำกันมาจนถึงราวปี พ.ศ. 2365 อาชีพช่างทองก็เลิกลากันไปคงเหลือแต่อาชีพตีเหล็ก ประเภทเดียว ชาวบ้นจึงยึดอาชีพตีเหล็กกันตลอดมา เป็นอาชีพหลัก (ถ้าเรานำดินที่ชุมชนแหล่งนี้ลงร่อนในน้ำ จะพบเศษทองและขี้ตะไบทอง อยู่ทั่ว ๆ ไปเกือบทุกพื้นที่)               
    กลับหน้าหลัก    
สำนักงานเกษตรอำเภอนครหลวง เลขที่ 34/2 หมู่ 8 ต.นครหลวง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา 13260
โทรศัพท์ 0-3535-9545 ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ : nakhonluang03@hotmail.com