รูป ศบกต.

ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลบ้านชุ้ง
ตั้งอยู่ที่ .............................
หมู่ที่ 6 ต.บ้านชุ้ง  อ.นครหลวง  จ.พระนครศรีอยุธยา
พิกัด X : 676320  Y : 1599211




เจ้าหน้าที่รับผิดชอบศูนย์บริการฯ



นางสาวเบญจรัตน  ม่วงคำ
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
โทร. 092-2474261
 

คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ

ประธานกรรมการบริหาร ศบกต.

นางนิตยา  สุคันธพฤกษ์
กำนันตำบลบ้านชุ้ง ม.7 โทร. 084-7251150

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ 

กรรมการ 

นายนุชิต  ช่วยพยุง
ผู้ใหญ่บ้าน ม.2 โทร. 087-8232507
นายไพศาล  ใจเบิกบาน
ผู้ใหญ่บ้าน ม.4 โทร. 081-7441151
นางนงนาฏ  เพ็งเจริญรัตน์
..........?........... โทร. 090-366866
นายประทิน  ยิ้มละม้าย
โทร. 083-8922581

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

นายวัฒนะ  ประทุมพันธ์
โทร. 081-9465061

นายชาลี  เรืองอุไร
โทร. 089-0435010

นายสุเทพ  เพ็งเจริญรัตน์
..................... โทร. ..................
นายสุชิน  แก้วลอย
โทร.081-7728935

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

นายอนันต์  สงเคราะห์ธรรม
โทร. 086-7504635

นางสำริด  นาคเปี่ยม
โทร. 086-0181480
นายทรัพย์  ตันตระกูล
ผู้ใหญ่บ้าน ม. 7 โทร. 081-9912103
นายธารา  สุมานิต
โทร. 083-9160036

กรรมการ 

กรรมการและเลขานุการ 

กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

 

นายสวัสดิ์  ไม้เกตุ
โทร.
นายสาวเบญจรัตน์  ม่วงคำ
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
โทร. 092-2474261
พ.อ.อ. กษิดิศ  รุณพันธ์
ผู้แทน อบต. โทร. 092-2507358

 

ประวัติ/ความเป็นมาของตำบล

                 ตำบลบ้านชุ้งเดิมยังไม่ตั้งเป็นหมู่บ้าน เพียงแต่มีชาวบ้านประมาณ 4 - 5 ครัวเรือน มาอาศัยอยู่บริเวณริมบึง โดยส่วนใหญ่เป็นป่าทึบและได้หักล้างถางพงเป็นพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย และได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 ซึ่งขยายจากการทดลองตั้งหมู่บ้านที่อำเภอบางปะอิน คือ ให้มีตำบล หมู่บ้านทั่วประเทศ   ตำบลบ้านชุ้ง ทางราชการจึงจัดตั้งขึ้นมาโดยพิจารณาชื่อจาก
สิ่งแวดล้อม เป็นตำบลที่ยื่นออกมากจากแม่น้ำป่าสัก ประกอบกับมีบึงใหญ่ ทางราชการจึงตั้งชื่อ ตำบลบึงบ้านชุ้งหรือบ้านชุ้ง

แผนที่ตำบล
 
อาณาเขตของตำบลบ้านชุ้ง
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลพระนอน, ตำบลสามไถ
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลปากจั่น, ตำบลหนองปลิง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอภาชี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลนครหลวง
ข้อมูลของตำบล
   -  สภาพทั่วไป
             ตำบลบ้านชุ้ง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอนครหลวง มีทั้งหมด 7 หมู่บ้าน มีอาณาเขตติดต่อกันดังนี้
 
  หมู่ที่ 1 บ้านชุ้ง ผู้ใหญ่บ้าน นายประทิน  ยิ้มละม้าย เบอร์โทร. 064-8498756
  หมู่ที่ 2 บ้านชุ้ง ผู้ใหญ่บ้าน นายนุชิต  ช่วยพยุง เบอร์โทร. 087-823507
  หมูที่ 3 บ้านหัวสะแก ผู้ใหญ่บ้าน นายสำเนา หอมสุวรรณ์ เบอร์โทร. 062-3302221
  หมู่ที่ 4 บ้านโพธิ์ลำแพน ผู้ใหญ่บ้าน  นายไพศาล  ใจเบิกบาน เบอร์โทร. 081-7441151
  หมู่ที่ 5 บ้านชายราง ผู้ใหญ่บ้าน  นางอัมพรรัช  เรืองผึ้ง เบอร์โทร. 087-0859162
  หมู่ที่ 6 บ้านชุ้ง ผู้ใหญ่บ้าน  นายพิเชษฐ์  เพ่งสุข เบอร์โทร. 081-3842572
  หมู่ที่ 7 บ้านโคกมะลิ ผู้ใหญ่บ้าน นางนิตยา  สุคันธพฤกษ์ เบอร์โทร. 084-7251150
   -  สภาพดิน
  กลุ่มชุดดินที่ 1
  ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด หน้าดินแตกระแหงเป็นร่องเล็กในฤดูร้อน สีดินส่วนมากเป็นสีดำหรือสีเทาแก่ ตลอดชั้นดิน อาจมีจุดประสีน้ำตาลหรือสีเหลืองปะปนอยู่บ้างในดินชั้นบน ส่วนดินชั้นล่างมักจะมีก้อนปูนปะปน เกิดจากต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำบริเวณเทือกเขาหินปูน หรือ หินภูเขาไฟ สภาพพื้นที่พบ ตามที่ราบลุ่มตั้งแต่ที่ราบน้ำท่วม ถึงตะพักลำน้ำระดับต่ำ มีน้ำแช่ขังในฤดูฝนลึก 30 - 40 ซม. นาน 3 - 4 เดือน ดินลึก มีความอุดมสมบูรณ์ ตามธรรมชาติ ปานกลางถึงสูง pH 6.5-8.0 ได้แก่ ชุดดินช่องแค ท่าเรือ โคกกระเทียม บ้านหมี่ ลพบุรี-ทำนาบุรีรัมย์-ทำนา บางเลน บ้านโพด และวัฒนา

ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ดินเหนียวจัดการไถพรวนลำบาก ดินแห้งจะแตกระแหงเป็นร่องลึกทำให้น้ำซึมหายได้ง่ายเมื่อฝนทิ้งช่วงนานกว่าปกติ ในช่วงฤดูฝนมีน้ำแช่ขัง

ความเหมาะสมสำหรับปลูกพืช : พื้นที่มีศักยภาพเหมาะสมทำนา ในฤดูฝนมีน้ำขัง 3-4 เดือน แต่สามารถปลูกพืชไร่ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว และผักต่าง ๆ ก่อนและหลังการปลูกข้าว ถ้ามีน้ำชลประทาน หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ

การจัดการกลุ่มชุดดิน 1
            ปลูกข้าวหรือทำนา เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน โดยการไถกลบตอซัง หลังการเก็บเกี่ยวข้าว

            การปลูกพืชตระกูลถั่ว ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วหมุนเวียนกับพืชไร่อย่างอื่น หรือการปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ปอเทือง โสน โสนอัฟริกัน ถั่วต่าง ๆ อัตราไร่ละ 5 กก./ไร่ หว่านทั่วแปลงแล้วไถกลบต้นลงดินก่อน ปลูกข้าว 2-3 เดือน การใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มความ อุดม สมบูรณ์ กรณีใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ให้ใช้อัตรา 2-3 ตัน/ไร่ ถ้าเป็นปุ๋ยเคมีสำหรับพันธุ์ข้าวไวแสง เช่น ขาวปากหม้อ 148 ขาวตาแห้ง 17 ปทุมธานี 60 ให้ใช้ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตร 16-20-0 หรือสูตร 18-22-0 อัตรา 25-30 กก./ไร่ ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยยูเรีย 5-10 กก./ไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 10-20 กก./ไร่ ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวไม่ไวแสง เช่น กข. 1-5 กข.7 กข.9 สุพรรณบุรี 60 ให้ใช้ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตร 16-20-0 หรือสูตร 18-22-0 อัตรา 25-35 กก./ไร่ ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยยูเรีย 10-15 กก./ไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 20-30 กก./ไร่

            ปลูกพืชไร่ กรณีปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าว หรือปลูกฤดูแล้ง พืชไร่ที่จะปลูกควรมีอายุไม่เกิน 120 วัน ให้ยกร่องสูง 20-30 ซม. และมีร่องระบายน้ำรอบแปลง หรือภายในแปลงนาห่างกัน 15-20 เมตร ควรมีความกว้าง 40-50 ซม. ลึก 20-30 ซม. ทำให้ดินร่วนซุยด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา 1-2 ตัน/ไร่ ไถคลุก-เคล้ากับดินและตากดินให้แห้ง 20-30 วัน ก่อนที่จะย่อยดิน กรณีเปลี่ยนสภาพพื้นที่จากนาข้าวเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่แบบถาวร ต้องสร้างคันดินรอบพื้นที่ปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝน ภายในพื้นที่ยกร่องปลูกแบบถาวร โดยให้สันร่องกว้าง 6-8 เมตร คูระบายน้ำกว้างประมาณ 1.5 เมตร ลึกประมาณ 1 เมตร บนสันร่องใหญ่อาจแบ่งซอยเป็นสันร่องย่อย โดยยกแปลงให้สูงขึ้นประมาณ 10-20 ซม. และกว้าง 1.5 - 2.0 เมตร เพื่อช่วยระบายน้ำบนสันร่องและเพื่อสะดวกในการเข้าไปดูแลกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยเคมี เช่น

                           ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ใช้สูตร 0-46-0 หรือ สูตร0-40-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ หรือสูตร 0-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ โดยโรยปุ๋ยก้นร่องหรือหว่านปุ๋ยที่แปลงพรวนดินกลบปุ๋ยก่อนปลูก

                           อ้อย ใช้สูตร 16-8-8 อัตรา 70-90 กก./ไร่ หรือสูตร 20-10-10 อัตรา 50 กก./ไร่ สำหรับอ้อยปลูกใส่ครั้งเดียว พรวนกลบ เมื่ออ้อยอายุ 60-90 วัน ส่วนอ้อยตอใช้สูตร 10-5-5 อัตรา 40-50 กก./ไร่ ใส่ครั้งเดียวโรยข้างแถวแล้ว พรวนดินกลบ สำหรับปุ๋ยที่ใส่เพื่อแต่งตอ ใช้สูตร 15-10-10 อัตรา 100 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่หลังแต่งกอ และครั้งที่สองใส่หลังครั้งแรก 40-60 วัน

                           มะม่วง (ให้ผลแล้ว) ใช้ปุ๋ยสูตร 20-10-10 อัตรา 1.5-3.0 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 หลังเก็บเกี่ยวผล ผลิต ครั้งที่ 2 หลังตัดแต่งกิ่ง ครั้งที่ 3 ใส่ช่วงหลังติดผลแล้ว ส้ม (ที่ตกผลแล้ว) ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 2.0 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง

                           ขนุน ใช้สูตร 15-15-15 หรือสูตร 13-13-21 อัตรา 2.0 กก./ต้น/ปี โรยปุ๋ยรอบโคนต้นรัศมีพุ่มใบ พรวนดิน พูนโคน กลบปุ๋ยต้นฤดูฝน

  กลุ่มชุดดินที่ 2f
               ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินบนมีสีเทาหรือเทาแก่ ดินล่างมีสีเทา จุดประสีน้ำตาลและสีเหลืองหรือสีแดง พบตามที่ราบลุ่ม
ภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ มีน้ำแช่ขังลึก 20-50 ซม. นาน 3-5 เดือน ถ้าเป็นดินที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลจะพบสารจาโรไซต์สีเหลืองฝางในระดับความลึกเป็นดิน
ลึก มีการระบายน้ำเลว ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง pH 4.5-5.5 ได้แก่ ชุดดินอยุธยา บางเขน บางน้ำเปรี้ยว ท่าขวาง ชุมแสง บางปะอิน
และมหาโพธิ์

             ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ปฏิกิริยาดินค่อนข้างเป็นกรดจัด ฤดูฝนน้ำขังนาน 3-5 เดือน

             ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช : เนื่องจากสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงราบลุ่มเนื้อดินเป็นดิน เหนียว การระบายน้ำเลว ในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำขังอยู่ที่ผิวดินระหว่าง 4-6 เดือน จึงมีศักยภาพเหมาะสมที่จะใช้ทำนาในช่วงฤดูฝน แต่สามารถ ปลูกพืชไร่ พืชผัก หรือพืชอื่นที่มีอายุสั้นได้ในช่วงฤดูแล้ง สำหรับในบริเวณพื้นที่ที่มีน้ำ ชลประทานเข้าถึงหรือแหล่งน้ำ ธรรมชาติ ถ้าใช้ปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผล หรือปลูกพืชไร่และพืชผักตลอดทั้งปีจะต้องทำคันดินล้อมรอบพื้นที่เพาะปลูกและยก ร่องปลูกเพื่อช่วยการระบายน้ำของดิน

             การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 2
             ปลูกข้าวหรือทำนา เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน โดยการปลูกพืชบำรุงดินปฏิบัติเหมือนกลุ่มชุดดินที่ 1 แก้ไขเนื้อดินเหนียว และมี
โครงสร้างค่อนข้างแน่นทึบ ด้วยปุ๋ยอินทรีย์ เช่นปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1.5-2.0 ตัน/ไร่ หรือใช้วัสดุปรับปรุงดินอย่างอื่น เช่น ขี้เลื่อย แกลบ กากน้ำตาล เป็นต้น ไถคลุกเคล้า และกลบลงในดิน ใส่ปูนมาร์ล หินปูนบด หรือหินปูนฝุ่นเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง อัตรา 0.5-1.0 ตัน/ไร่ ไถคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ปล่อยน้ำแช่
ประมาณ 10 วัน แล้วระบายน้ำออกแล้วค่อยขังน้ำใหม่ เพื่อทำเทือกและรอปักดำ หรือใช้น้ำล้างความเป็นกรดของดิน ประมาณ 4-5 ครั้ง ปุ๋ยเคมี ครั้งที่ 1
ที่ใช้สูตร 16-20-0 อัตรา 25-40 กก./ไร่ หรือสูตร 16-16-8 อัตรา 30-40 กก./ไร่ ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยยูเรีย 5-10 กก./ไร่ ใส่เมื่อข้าวตั้งท้อง พันธุ์ข้าวที่แนะนำ เช่น ขาวตาหยก ไข่มุก สีรวง ลูกเหลือง ขาวดอกมะลิ 105 กข 7 กข 13 สุพรรณบุรี 90 เล็บมือนาง

             ปลูกพืชไร่  กรณีปลูกในช่วงฤดูแล้งหรือหลังเก็บเกี่ยวข้าวให้ยกร่องปลูกสูง 10-20 ซม. ทำร่องภายในแปลงห่างกันประมาณ 8-12 เมตร และร่อง 40-50 ซม. ลึก 20-30 ซม. เพื่อช่วยระบายน้ำใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1.5 - 2.0 ตัน/ไร่ หรือปลูกพืชตระกูลถั่วไถกลบไปในดิน ในกรณีดินเป็นกรดให้ใส่ปูนในรูปต่าง ๆ เป็นปูนขาว ปูนมาร์ล อื่น ๆ ที่หาได้ง่าย ใช้อัตรา 1-2 ตัน/ไร่ หว่านให้ทั่วแปลง ไถคลุกเคล้ากับดินทิ้งไว้ประมาณ 15 วันก่อนปลูกพืช กรณีเปลี่ยน พื้นที่นาเป็นพืชที่ทำไร่แบบถาวร ให้สร้างคันดินรอบพื้นที่ปลูก ภายในพื้นที่ยกร่องปลูกแบบถาวร สันร่องปลูกกว้าง 6-8 เมตร คูกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร บนร่องยกแปลงย่อยสูง 10-20 ซม. กว้าง 1.5 - 2.0 เมตร

              การใช้ปุ๋ยเคมี เช่น ข้าวโพดหวาน ใช้ปุ๋ยสูตร 20-20-20 หรือสูตร 15-15-15 อัตรา 50-100 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละเท่า ๆ กัน คือ รองก้นหลุมก่อนปลูก และเมื่ออายุ 25 วันและใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 10 กก./ไร่ โรยข้างแถวข้าวโพด พูนดินกลบโคน เมื่ออายุ 25-30 วัน

             ถั่วเขียว ถั่วลิสง ใช้สูตร 12-24-12 อัตรา 30 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละ เท่า ๆ กัน ครั้งแรกใส่รองพื้น และเมื่อต้นถั่วอายุ 20-25 วัน  โรยปุ๋ยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ ควรคลุกไรโซเบียมก่อนปลูก

            อ้อย สำหรับอ้อยเริ่มปลูกใช้สูตร 16-8-8 หรือ 16-6-6 อัตรา 70-90 กก./ไร่ หรือสูตร 18-6-6 หรือสูตร 18-8-8 อัตรา 65-58 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง สำหรับอ้อยใช้สูตร 14-14-14 หรือสูตร 15-15-15 หรือ สูตร 16-16-16 อัตรา 40-50 กก./ไร่ ร่วมกับสูตร 46-0-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง โรยข้างแถวแล้วพรวนดิน

            มะม่วง ส้มเขียวหวาน ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 1 กก./ต้น เมื่อต้นอายุ 1-2 ปี และใช้อัตรา 1.5-3 กก./ต้น เมื่อต้นอายุ 3-6 ปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี

            มะพร้าว ใช้สูตรและอัตราดังต่อไปนี้ อายุ 1 ปี ใช้สูตร 15-15-15 หรือสูตรอื่นสูตรที่มีธาตุอาหารเท่าหรือใกล้เคียงกัน อัตรา 1 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 2 ปี ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 2 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 3-4 ปี ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 2 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 5 ปี ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 2.5 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 6 ปีขึ้นไป ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 3 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี

           ส้มโอ ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่ 2 ครั้ง/ปี ดังนี้ อายุ 1 ปี ใช้อัตรา 1 กก./ต้น อายุ 2 ปี ใช้อัตรา 2 กก./ต้น อายุ 3 ปี ใช้อัตรา 3 กก./ต้น อายุ 5 ปี ใช้อัตรา 5 กก./ต้น

   -  การคมนาคม
           การคมนาคมของตำบลบ้านชุ้ง มีเส้นทางคมนาคม ผ่านโดยทางหลวง เส้นทางอำเภอนครหลวง - ภาชี จากหมู่ที่ 7 ถึง หมู่ 3 และถนนทางหลวงจังหวัดสายอยุธยา
อำเภอท่าเรือ จากหมู่ที่ 2 และ 6 การคมนาคมภายในชุมชนตำบลบ้านชุ้งเป็นเส้นทางการคมนาคมของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท การคมนาคมติดต่อกับจังหวัด การสัญจรไปมาสะดวก มีปัญหาการคมนาคมไม่สะดวกจากการคมนาคมในหมู่บ้านและไร่นาของเกษตรกรในการขนส่งผลผลิตการเกษตร เนื่องจากเป็นถนนดินลูกรัง เกิดปัญหาการซ่อมบำรุงในฤดูฝน
  -  แหล่งน้ำ
           1.  แหล่งน้ำในตำบลบ้านชุ้ง มีแหล่งน้ำสำคัญคือ บึงบ้านชุ้ง ซึ่งอยู่บริเวณหมู่ที่ 1, 2, 6, 7 เกษตรกรสามารถสูบน้ำมาปลูกพืชได้หลังจากการทำนา แหล่งน้ำทั่วไปมีคลองชลประทาน ส่งน้ำผ่านเข้าคลองซอยในหมู่บ้านต่าง ๆ ในฤดูการทำนา
         2.  แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ในตำบลบ้านชุ้งมีประปาหมู่บ้านใช้ได้ตลอดปี
         3.  บ่อบาดาลและบ่อที่ขุดขึ้น มีกระจายทั่วไปในหมู่บ้าน เป็นน้ำดิบน้ำใช้ในครัวเรือนและใช้ในการเกษตรเป็นบางแห่ง
 

         Next