ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลบางพระครู
ตั้งอยู่ที่ทำการ อบต.บางพระครูเก่า
หมู่ที่ 1 ต.บางพระครู  อ.นครหลวง  จ.พระนครศรีอยุธยา
พิกัด X : 174169  Y : 1600904




เจ้าหน้าที่รับผิดชอบศูนย์บริการฯ



นางสาวเพ็ญผกา  หมัดโน๊ต
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
โทร. 083-0328650
 

คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ

ประธานกรรมการบริหาร ศบกต.

นายสังข์  สุคันธจันทร์
.................?................

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ 

กรรมการ 

นายลำพูล ภู่พงษ์
..........?...........
นายวุฒิชัย  รักหิรัญ
..........?...........
นายปราโมทย์  อัมพลพ
..........?...........
จ.ส.อ. นิมิตร  โกญจนันท์
............?................

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

นายชลอ  ศรีคร้าม
...................?.................

นายเรวัตร  จำแม่น
............?.............

นายนิรัญ  เหล็กไหล
...........?.............
นายสุรินทร์  ศิลาอาสน์
...........?.............

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

นางทองเพียร  พวงทอง
...........?.............

นายสวัสดิ์  เนกขัมม์
..........?...........
นางมาลัย  เนกขัมม์
............?..........
นายสุชีพ  คุ้มสุข
...........?............

กรรมการ 

กรรมการและเลขานุการ 

กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

 

นายวินัย  สัยยะสิทธิ์
...........?.............
นางสาวเพ็ญผกา  หมัดโน๊ต
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
โทร. 083-0328650
นายณัฐพล  ต้นวรรณา
ผู้แทน อบต.บางพระครู โทร. ?

 

ประวัติ/ความเป็นมาของตำบล

                   ประวัติของตำบลบางพระครู  ในสมัยอยุธยามีกษัตริย์พระองค์หนึ่ง สมัยทรงพระเยาว์ได้ถูกส่งให้มาร่ำเรียนกับพระครูถิ่น ซึ่งพระครูถิ่น
มีวิชาอาคมมาก สามารถทำให้มี 4 มือได้ กษัตริย์พระองค์นี้จึงมีสมญานามว่า "พระนารายณ์" แปว่าผู้มี 4 มือ ต่อมากษัตริย์ผู้นี้ได้ขึ้นครองราชย์ ชื่อว่าพระนารายณ์ ได้เสด็จมาเยี่ยมพระราชครูถิ่นอยู่บ่อย ๆ โดยเสด็จทางชลมารคทางแม่น้ำป่าสัก และผ่านเข้ามาทางลำคลอง ซึ่งลำคลองนี้ต่อมาชาวบ้านเรียกว่า "คลองพระราชครู" ต่อมาเสียงเรียกคลองพระราชครูจึงเพี้ยนไปเป็น "บางพระครู" จนถึงปัจจุบัน 
  
       

แผนที่ตำบล
 
อาณาเขตของตำบลบ่อโพง
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลแม่ลา อ.นครหลวง , ตำบลบ้านขล้อ อ.บางปะหัน
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบบางระกำ และตำบลนครหลวง อ.นครหลวง และตำบลบางเพลิง อ.บางปะหัน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลนครหลวง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลบ้านขล้อและตำบลบางเพลิง อ.บางปะหัน
ข้อมูลของตำบล
   -  สภาพทั่วไป
             ตำบลบางพระครู ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการอำเภอนครหลวง มีพื้นที่ถือครองทั้งหมด 4,131 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 3,116 ไร่
 พื้นที่ทำนา 2,662 ไร่
 
  หมู่ที่ 1 บ้านคลองบางพระครู ผู้ใหญ่บ้าน  นายวุฒิชัย รักหิรัญ เบอร์โทร. 086-1471037
  หมู่ที่ 2 บ้านใต้วัดลาย กำนัน  นายปราโมทย์  อัมพลพ เบอร์โทร. 081-9481245
  หมูที่ 3 บ้านชะอม ผู้ใหญ่บ้าน  นางสาววาสนา  นิพพยะ เบอร์โทร. 081-9919870
  หมู่ที่ 4 บ้านโคกช้้าง (โคกหิน) ผู้ใหญ่บ้าน  จ.ส.อ. นิมิตร  โกนจนันท์ เบอร์โทร. 081-9910399
   -  สภาพดิน
  กลุ่มชุดดินที่ 1
  ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด หน้าดินแตกระแหงเป็นร่องเล็กในฤดูร้อน สีดินส่วนมากเป็นสีดำหรือสีเทาแก่ ตลอดชั้นดิน อาจมีจุดประสีน้ำตาลหรือสีเหลืองปะปนอยู่บ้างในดินชั้นบน ส่วนดินชั้นล่างมักจะมีก้อนปูนปะปน เกิดจากต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำบริเวณเทือกเขาหินปูน หรือ หินภูเขาไฟ สภาพพื้นที่พบ ตามที่ราบลุ่มตั้งแต่ที่ราบน้ำท่วม ถึงตะพักลำน้ำระดับต่ำ มีน้ำแช่ขังในฤดูฝนลึก 30 - 40 ซม. นาน 3 - 4 เดือน ดินลึก มีความอุดมสมบูรณ์ ตามธรรมชาติ ปานกลางถึงสูง pH 6.5-8.0 ได้แก่ ชุดดินช่องแค ท่าเรือ โคกกระเทียม บ้านหมี่ ลพบุรี-ทำนาบุรีรัมย์-ทำนา บางเลน บ้านโพด และวัฒนา

ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ดินเหนียวจัดการไถพรวนลำบาก ดินแห้งจะแตกระแหงเป็นร่องลึกทำให้น้ำซึมหายได้ง่ายเมื่อฝนทิ้งช่วงนานกว่าปกติ ในช่วงฤดูฝนมีน้ำแช่ขัง

ความเหมาะสมสำหรับปลูกพืช : พื้นที่มีศักยภาพเหมาะสมทำนา ในฤดูฝนมีน้ำขัง 3-4 เดือน แต่สามารถปลูกพืชไร่ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว และผักต่าง ๆ ก่อนและหลังการปลูกข้าว ถ้ามีน้ำชลประทาน หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ

การจัดการกลุ่มชุดดิน 1
            ปลูกข้าวหรือทำนา เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน โดยการไถกลบตอซัง หลังการเก็บเกี่ยวข้าว

            การปลูกพืชตระกูลถั่ว ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วหมุนเวียนกับพืชไร่อย่างอื่น หรือการปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ปอเทือง โสน โสนอัฟริกัน ถั่วต่าง ๆ อัตราไร่ละ 5 กก./ไร่ หว่านทั่วแปลงแล้วไถกลบต้นลงดินก่อน ปลูกข้าว 2-3 เดือน การใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มความ อุดม สมบูรณ์ กรณีใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ให้ใช้อัตรา 2-3 ตัน/ไร่ ถ้าเป็นปุ๋ยเคมีสำหรับพันธุ์ข้าวไวแสง เช่น ขาวปากหม้อ 148 ขาวตาแห้ง 17 ปทุมธานี 60 ให้ใช้ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตร 16-20-0 หรือสูตร 18-22-0 อัตรา 25-30 กก./ไร่ ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยยูเรีย 5-10 กก./ไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 10-20 กก./ไร่ ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวไม่ไวแสง เช่น กข. 1-5 กข.7 กข.9 สุพรรณบุรี 60 ให้ใช้ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตร 16-20-0 หรือสูตร 18-22-0 อัตรา 25-35 กก./ไร่ ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยยูเรีย 10-15 กก./ไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 20-30 กก./ไร่

            ปลูกพืชไร่ กรณีปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าว หรือปลูกฤดูแล้ง พืชไร่ที่จะปลูกควรมีอายุไม่เกิน 120 วัน ให้ยกร่องสูง 20-30 ซม. และมีร่องระบายน้ำรอบแปลง หรือภายในแปลงนาห่างกัน 15-20 เมตร ควรมีความกว้าง 40-50 ซม. ลึก 20-30 ซม. ทำให้ดินร่วนซุยด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา 1-2 ตัน/ไร่ ไถคลุก-เคล้ากับดินและตากดินให้แห้ง 20-30 วัน ก่อนที่จะย่อยดิน กรณีเปลี่ยนสภาพพื้นที่จากนาข้าวเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่แบบถาวร ต้องสร้างคันดินรอบพื้นที่ปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝน ภายในพื้นที่ยกร่องปลูกแบบถาวร โดยให้สันร่องกว้าง 6-8 เมตร คูระบายน้ำกว้างประมาณ 1.5 เมตร ลึกประมาณ 1 เมตร บนสันร่องใหญ่อาจแบ่งซอยเป็นสันร่องย่อย โดยยกแปลงให้สูงขึ้นประมาณ 10-20 ซม. และกว้าง 1.5 - 2.0 เมตร เพื่อช่วยระบายน้ำบนสันร่องและเพื่อสะดวกในการเข้าไปดูแลกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยเคมี เช่น

                           ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ใช้สูตร 0-46-0 หรือ สูตร0-40-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ หรือสูตร 0-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ โดยโรยปุ๋ยก้นร่องหรือหว่านปุ๋ยที่แปลงพรวนดินกลบปุ๋ยก่อนปลูก

                           อ้อย ใช้สูตร 16-8-8 อัตรา 70-90 กก./ไร่ หรือสูตร 20-10-10 อัตรา 50 กก./ไร่ สำหรับอ้อยปลูกใส่ครั้งเดียว พรวนกลบ เมื่ออ้อยอายุ 60-90 วัน ส่วนอ้อยตอใช้สูตร 10-5-5 อัตรา 40-50 กก./ไร่ ใส่ครั้งเดียวโรยข้างแถวแล้ว พรวนดินกลบ สำหรับปุ๋ยที่ใส่เพื่อแต่งตอ ใช้สูตร 15-10-10 อัตรา 100 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่หลังแต่งกอ และครั้งที่สองใส่หลังครั้งแรก 40-60 วัน

                           มะม่วง (ให้ผลแล้ว) ใช้ปุ๋ยสูตร 20-10-10 อัตรา 1.5-3.0 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 หลังเก็บเกี่ยวผล ผลิต ครั้งที่ 2 หลังตัดแต่งกิ่ง ครั้งที่ 3 ใส่ช่วงหลังติดผลแล้ว ส้ม (ที่ตกผลแล้ว) ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 2.0 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง

                           ขนุน ใช้สูตร 15-15-15 หรือสูตร 13-13-21 อัตรา 2.0 กก./ต้น/ปี โรยปุ๋ยรอบโคนต้นรัศมีพุ่มใบ พรวนดิน พูนโคน กลบปุ๋ยต้นฤดูฝน

  กลุ่มชุดดินที่ 3BB
             ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนปนทรายแป้ง ดินมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนแดง บางแห่ง ในดินล่างลึก ๆ มีจุดประสีเทาและ
น้ำตาล อาจมีแร่ไมก้าหรือก้อนปูนปะปน เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ พบบนสันดินริมน้ำเก่าและเนินตะกอนรูปพัด มีพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึง
เป็นลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชันประมาณ 2-12 % เป็นดินลึกมาก มีการระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง ระดับน้ำใต้ดินอยู่ลึกกว่า 1 เมตรตลอดปี มีความ
อุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ดินชั้นบนมี pH ประมาณ 6.5-7.5 ได้แก่ชุดดินดงยางเอน ชุดดินกำแพงแสน ชุดดินกำแพงเพชร และชุดดินลำสนธิ ธาตุพนม

             ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : มีความเสี่ยงต่อการขาดน้ำได้ในบางปี

             ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช : กลุ่มชุดดินที่ 33 มีศักยภาพเหมาะสมในการปลูกพืชหลายชนิดทั้งพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล และทำนาข้าว
 ซึ่งได้ใช้ประโยชน์ดังกล่าวนี้อยู่ในภาคต่าง ๆ ที่พบดินกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือกในการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมกับศักยภาพ

              การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 33
                     ปลูกข้าวหรือทำนา ปัญหาดินขาดธาตุอาหารพืชบางอย่างหรือมีแต่ไม่เพียงพอ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อัตรา 1.5-2.0 ตัน/ไร่
ใส่ระยะการไถเตรียมดินก่อนปักดำข้าว หรือ อาจจะมีการปลูกพืชตระกูลถั่วพวกปอเทือง โสนอัฟริกาฯ เพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 5 กก./ไร่ หว่าน
ก่อนถึงฤดูทำนาประมาณ 2-3 เดือน แล้วจึงไถกลบ การใส่ปุ๋ยเคมี ควรใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรก ใส่ก่อนปักดำ 1 วัน หรือ ใส่วันปักดำแล้วคราดกลบโดยใช้ปุ๋ย 16-20-0
หรือ 20-20-0 อัตรา 20 กก./ไร่ สำหรับข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสง และอัตรา 35 กก./ไร่ สำหรับข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง ครั้งที่สอง ใส่ก่อนระยะข้าวออกดอก
ประมาณ 30 วัน หรือ หลังจากปักดำแล้วประมาณ 30-45 วัน โดยหว่านให้ทั่วแปลงเป็นการใส่ปุ๋ยแต่งหน้าด้วยปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตอัตรา 15 กก./ไร่ หรือ
ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 6 กก./ไร่ สำหรับข้าวพันธุ์ไวต่อแสงหรือใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 13 กก./ไร่ สำหรับข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง

             ปลูกพืชไร่ ปัญหาการระบายน้ำของดินเลว การเตรียมพื้นที่เพาะปลูก ในกรณีปลูกพืชไร่ในช่วงฤดูแล้งหรือหลังการเก็บเกี่ยวข้าวควรดำเนินการ
ดังต่อไปนี้ ให้ทำร่องระบายน้ำรอบกระทงนาและทำร่องระบายในกระทงนาในกรณีที่กระทงนาใหญ่ ซึ่งห่างกันประมาณ 15-20 เมตรและร่องมีความกว้าง 40-
50 ซม.ลึกประมาณ 20-30 ซม. ซึ่งร่องที่กล่าวนี้จะช่วยระบายน้ำผิวดินและสะดวกในการให้น้ำและเข้าไปดูแลพืชที่ปลูก ปัญหาดินขาดธาตุอาหารพืชบางอย่าง
และดินค่อนข้างไม่ร่วนซุย เช่น พืชตระกูลถั่ว ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เช่นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอัตรา 1-2 ตัน/ไร่ หว่านให้ทั่วแปลงแล้วไถกลบก่อน
ปลูก 7-14 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 0-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ หรือสูตรอื่นที่มีธาตุอาหารพืชเท่าเทียมกัน ใส่รองก้นหลุมปลูกหรือโรยสองข้างแถวปลูกแล้วพรวน
ดินกลบเมื่อถั่วอายุได้ 20-25 วัน

            ข้าวโพด และข้าวฟ่าง ใส่ปุ๋ยเคมีปฏิบัติเช่นเดียวกับกลุ่มชุดดินที่ 4

            ปลูกไม้ผล เตรียมหลุมปลูกขนาด 50 x 50 x 50 ซม. คลุกเคล้าด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 25-30 กก./หลุม

            พืชที่เหมาะสมกับชุดดิน    ถั่ว, ข้าวโพด, ข้าวฟ่าง, ลิ้นจี่

  กลุ่มชุดดินที่ 2f
                  ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินบนมีสีเทาหรือเทาแก่ ดินล่างมีสีเทา จุดประสีน้ำตาลและสีเหลืองหรือสีแดง พบตามที่ราบลุ่ม
ภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ มีน้ำแช่ขังลึก 20-50 ซม. นาน 3-5 เดือน ถ้าเป็นดินที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลจะพบสารจาโรไซต์สีเหลืองฝางในระดับความลึกเป็นดิน
ลึก มีการระบายน้ำเลว ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง pH 4.5-5.5 ได้แก่ ชุดดินอยุธยา บางเขน บางน้ำเปรี้ยว ท่าขวาง ชุมแสง บางปะอิน
และมหาโพธิ์

             ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ปฏิกิริยาดินค่อนข้างเป็นกรดจัด ฤดูฝนน้ำขังนาน 3-5 เดือน

             ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช : เนื่องจากสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงราบลุ่มเนื้อดินเป็นดิน เหนียว การระบายน้ำเลว ในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำขังอยู่ที่ผิวดินระหว่าง 4-6 เดือน จึงมีศักยภาพเหมาะสมที่จะใช้ทำนาในช่วงฤดูฝน แต่สามารถ ปลูกพืชไร่ พืชผัก หรือพืชอื่นที่มีอายุสั้นได้ในช่วงฤดูแล้ง สำหรับในบริเวณพื้นที่ที่มีน้ำ ชลประทานเข้าถึงหรือแหล่งน้ำ ธรรมชาติ ถ้าใช้ปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผล หรือปลูกพืชไร่และพืชผักตลอดทั้งปีจะต้องทำคันดินล้อมรอบพื้นที่เพาะปลูกและยก ร่องปลูกเพื่อช่วยการระบายน้ำของดิน

             การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 2
             ปลูกข้าวหรือทำนา เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน โดยการปลูกพืชบำรุงดินปฏิบัติเหมือนกลุ่มชุดดินที่ 1 แก้ไขเนื้อดินเหนียว และมี
โครงสร้างค่อนข้างแน่นทึบ ด้วยปุ๋ยอินทรีย์ เช่นปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1.5-2.0 ตัน/ไร่ หรือใช้วัสดุปรับปรุงดินอย่างอื่น เช่น ขี้เลื่อย แกลบ กากน้ำตาล เป็นต้น ไถคลุกเคล้า และกลบลงในดิน ใส่ปูนมาร์ล หินปูนบด หรือหินปูนฝุ่นเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง อัตรา 0.5-1.0 ตัน/ไร่ ไถคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ปล่อยน้ำแช่
ประมาณ 10 วัน แล้วระบายน้ำออกแล้วค่อยขังน้ำใหม่ เพื่อทำเทือกและรอปักดำ หรือใช้น้ำล้างความเป็นกรดของดิน ประมาณ 4-5 ครั้ง ปุ๋ยเคมี ครั้งที่ 1
ที่ใช้สูตร 16-20-0 อัตรา 25-40 กก./ไร่ หรือสูตร 16-16-8 อัตรา 30-40 กก./ไร่ ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยยูเรีย 5-10 กก./ไร่ ใส่เมื่อข้าวตั้งท้อง พันธุ์ข้าวที่แนะนำ เช่น ขาวตาหยก ไข่มุก สีรวง ลูกเหลือง ขาวดอกมะลิ 105 กข 7 กข 13 สุพรรณบุรี 90 เล็บมือนาง

             ปลูกพืชไร่  กรณีปลูกในช่วงฤดูแล้งหรือหลังเก็บเกี่ยวข้าวให้ยกร่องปลูกสูง 10-20 ซม. ทำร่องภายในแปลงห่างกันประมาณ 8-12 เมตร และร่อง 40-50 ซม. ลึก 20-30 ซม. เพื่อช่วยระบายน้ำใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1.5 - 2.0 ตัน/ไร่ หรือปลูกพืชตระกูลถั่วไถกลบไปในดิน ในกรณีดินเป็นกรดให้ใส่ปูนในรูปต่าง ๆ เป็นปูนขาว ปูนมาร์ล อื่น ๆ ที่หาได้ง่าย ใช้อัตรา 1-2 ตัน/ไร่ หว่านให้ทั่วแปลง ไถคลุกเคล้ากับดินทิ้งไว้ประมาณ 15 วันก่อนปลูกพืช กรณีเปลี่ยน พื้นที่นาเป็นพืชที่ทำไร่แบบถาวร ให้สร้างคันดินรอบพื้นที่ปลูก ภายในพื้นที่ยกร่องปลูกแบบถาวร สันร่องปลูกกว้าง 6-8 เมตร คูกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร บนร่องยกแปลงย่อยสูง 10-20 ซม. กว้าง 1.5 - 2.0 เมตร

              การใช้ปุ๋ยเคมี เช่น ข้าวโพดหวาน ใช้ปุ๋ยสูตร 20-20-20 หรือสูตร 15-15-15 อัตรา 50-100 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละเท่า ๆ กัน คือ รองก้นหลุมก่อนปลูก และเมื่ออายุ 25 วันและใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 10 กก./ไร่ โรยข้างแถวข้าวโพด พูนดินกลบโคน เมื่ออายุ 25-30 วัน

             ถั่วเขียว ถั่วลิสง ใช้สูตร 12-24-12 อัตรา 30 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละ เท่า ๆ กัน ครั้งแรกใส่รองพื้น และเมื่อต้นถั่วอายุ 20-25 วัน  โรยปุ๋ยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ ควรคลุกไรโซเบียมก่อนปลูก

            อ้อย สำหรับอ้อยเริ่มปลูกใช้สูตร 16-8-8 หรือ 16-6-6 อัตรา 70-90 กก./ไร่ หรือสูตร 18-6-6 หรือสูตร 18-8-8 อัตรา 65-58 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง สำหรับอ้อยใช้สูตร 14-14-14 หรือสูตร 15-15-15 หรือ สูตร 16-16-16 อัตรา 40-50 กก./ไร่ ร่วมกับสูตร 46-0-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง โรยข้างแถวแล้วพรวนดิน

            มะม่วง ส้มเขียวหวาน ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 1 กก./ต้น เมื่อต้นอายุ 1-2 ปี และใช้อัตรา 1.5-3 กก./ต้น เมื่อต้นอายุ 3-6 ปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี

            มะพร้าว ใช้สูตรและอัตราดังต่อไปนี้ อายุ 1 ปี ใช้สูตร 15-15-15 หรือสูตรอื่นสูตรที่มีธาตุอาหารเท่าหรือใกล้เคียงกัน อัตรา 1 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 2 ปี ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 2 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 3-4 ปี ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 2 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 5 ปี ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 2.5 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 6 ปีขึ้นไป ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 3 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี

           ส้มโอ ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่ 2 ครั้ง/ปี ดังนี้ อายุ 1 ปี ใช้อัตรา 1 กก./ต้น อายุ 2 ปี ใช้อัตรา 2 กก./ต้น อายุ 3 ปี ใช้อัตรา 3 กก./ต้น อายุ 5 ปี ใช้อัตรา 5 กก./ต้น

  กลุ่มชุดดินที่ 4f
             ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว ดินบนมีสีน้ำตาลปนเทาหรือสีน้ำตาล ดินล่างมีสีน้ำตาลปนเทา หรือสีน้ำตาลหรือสีเทาปนสีเขียว
 มะกอกมีจุดประสีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีน้ำตาลแก่ อาจพบก้อนปูน ก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็ก และแมงกานีสในชั้นดินล่าง การระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว
พบตามที่ราบเรียบหรือที่ราบลุ่มระหว่างคันดินริมลำน้ำ กับลานตะพักลำน้ำค่อนข้างใหม่ น้ำแช่ขัง ในฤดูฝนลึก 30 - 50 ซม. นาน 4-5 เดือน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง pH 5.5-6.5 ถ้าหากดินมีก้อนปูนปะปนอยู่ pH จะเป็น7.0-8.0 ได้แก่ ชุดดินชัยนาท ราชบุรี ท่าพล และสระบุรี, บางมูลนาค ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ทำนา บางแห่งยกร่องเพื่อปลูกพืชผักหรือไม้ผล ซึ่งมักจะให้ผลผลิตค่อนข้างสูง

             ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ในฤดูฝนมีน้ำแช่ขังนาน 4 - 5 เดือน

             ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช : สภาพพื้นที่ราบลุ่มมีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงเกือบราบเรียบ ดินมีสภาพการระบายน้ำค่อนข้างเลวถึง เลว ในช่วงฤดูฝนมีน้ำขังที่ผิวดินเป็นระยะเวลา 4-5 เดือน เนื้อดินเป็นดินเหนียวเก็บกักน้ำได้ดี จึงเหมาะสมที่จะใช้ในการทำนามากกว่าการปลูกพืชอย่างอื่น
อย่างไรก็ตามหลังการเก็บเกี่ยวข้าวหรือในช่วงฤดูแล้งกลุ่มชุดดินนี้ สามารถใช้ในการปลูกพืชไร่หรือพืชผักที่มีอายุสั้นได้เป็นอย่างดี เนื่องจากดินมีความชื้นพอที่
จะปลูกได้และดินกลุ่มนี้พบบริเวณที่อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำสายสำคัญจึงสามารถที่จะนำน้ำจากแม่น้ำดังกล่าวมาใช้เสริมในการปลูกพืชได้และได้
มีการปฏิบัติกันอย่างกว้าง ขวางในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

             การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 4
                        ปลูกข้าวหรือทำนา เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินปฏิบัติเช่นเดียวกับกลุ่มชุดดินที่ 3 การใช้ปุ๋ยเคมีใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0
หรือ สูตร 20-20-0 หรือ สูตร 18-20-0 สูตรใดสูตรหนึ่ง อัตรา 20 กก./ไร่ สำหรับข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสงและอัตรา 35 กก./ไร่ สำหรับข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง
ใส่ก่อนปักดำ 1 วัน หรือใส่วันปักดำแล้วคราดดินกลบ ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยแต่งหน้าด้วยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 15 กก./ไร่ หรือปุ๋ยยูเรียอัตรา 6 กก./ไร่ สำหรับ
ข้าวไวต่อช่วงแสง ถ้าเป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงให้ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตอัตรา 13 กก./ไร่ ให้ใส่ก่อนระยะข้าวออกดอกประมาณ 30 วัน หรือหลังปักดำแล้ว
30-45 วัน โดยหว่านให้ทั่วแปลง พันธุ์ข้าวที่แนะนำ เช่น ขาวตาหยก ไข่มุก รวงยาว สีรวง ลูกเหลือง เหลืองประทิว 123 ขาวดอกมะลิ 105 กข 7 กข. 13 กข
23 สุพรรณบุรี 90 ปลูกพืชไร่ กรณีปลูกพืชไร่ในช่วงฤดูแล้งหรือหลังเก็บเกี่ยวข้าว เตรียมพื้นที่ เพาะปลูก ให้ทำร่องระบายน้ำรอบกระทงนาและทำร่องภายใน
กระทงนา ห่างกันประมาณ 10-15 เมตร ร่องกว้าง 40-50 ซม. ลึก 20-30 ซม. เพื่อช่วยระบายน้ำหรือให้น้ำดูแลพืชปลูก กรณีเปลี่ยนสภาพพื้นที่จากนาข้าวเป็น
พื้นที่ปลูกพืชไร่แบบถาวร ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับ กลุ่มชุดดินที่ 1 การใช้ปุ๋ยเคมี เช่น พืชตระกูลถั่ว ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 0-46-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ หรือสูตร 0-20-0
อัตรา 30-40 กก./ไร่ ใส่รองก้นร่องปลูกหรือโรยสองข้างแถวปลูกแล้วพรวนดินกลบ เมื่อถั่วอายุได้ 20-25 วัน

                        ข้าวโพดและข้าวฟ่าง ใส่ปุ๋ยสูตร 20-20-0 อัตรา 40-50 กก./ไร่ หรือสูตร 23-23-0 อัตรา 35-45 กก./ไร่ โรยทั้งแถวปลูกแล้วพรวนดิน
กลบเมื่อข้าวโพด ข้าวฟ่าง อายุ 20-25 วัน หรือใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ โดยใส่รองก้นหลุม ร่วมกับปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 20-30 กก./ไร่
หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 10-15 กก./ไร่ โรยสองข้างแถวแล้วพรวนดินกลบเมื่อข้าวโพดหรือข้าวฟ่าง อายุ 20-25 วัน

                        มะละกอ พันธุ์ที่แนะนำได้แก่ โก้โก แขกดำ จำปาดะ สายน้ำผึ้ง ฮาวาย มาเลเซีย ใช้สูตร 14-12-12 หรือ 20-15-15 ควรใส่หลังจากย้ายปลูก 2-3 อาทิตย์ ถึงมะละกออายุได้ 1 ปี ใส่ปุ๋ย 1 กก./ต้น/ปี หลังจากอายุได้ 1 ปีขึ้นไป ใส่ประมาณ 1-1.5 กก./ต้น/ปี

                        ฝรั่ง พันธุ์ที่แนะนำ ได้แก่ พันธุ์เวียดนาม พันธุ์ทูลเกล้า กลมสาลี การใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 อัตราประมาณ 1 กก./ต้น/ปี
ควบคู่ไปกับการใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 10 กก./ต้น

                        กล้วยหอม พันธุ์ที่แนะนำได้แก่ กล้วยหอมทอง ใส่ปุ๋ยคอกหรือใส่ปุ๋ยหมัก เมื่ออายุได้ 1 สัปดาห์ 1 เดือน และ 2 เดือน ตามลำดับครั้งละประมาณ
5 กก./ต้น ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 1 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง เมื่ออายุ 3 เดือน และ 5 เดือน

                        พืชที่เหมาะสมกับชุดดิน   ข้าว, ข้าวโพด, ฝ้าย, มะม่วง, มะละกอ, ฝรั่ง, ข้าวฟ่าง, ถั่ว

            ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : มีความเสี่ยงต่อการขาดน้ำได้ในบางปี
   -  การคมนาคม
            แต่เดิมเส้นทางคมนาคมภายในตำบลไม่ค่อยสะดวกนัก แต่ในปัจจุบันองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นได้เข้ามามีบทบาทพัฒนาตำบล ปรับปรุง
เส้นทางคมนาคมหลายสาย จากถนนลูกรังมาเป็นคอนกรีต ถนนลาดยาง ทำให้การคมนาคมภายในตำบลในแต่ละหมู่บ้านสะดวกมากขึ้น โดยเส้นทางคมนาคมที่อาศัยคันคลองส่งน้ำของชลประทานก็มีโอกาสได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น การคมนาคมใช้ได้ 2 ทางคือ
           1.  ทางบก  ใช้ถนนคันคลองชลประทานเป็นถนนลูกรังตลอดสาย มีรถยนต์ประจำทางไม่เป็นเวลา มีถนนลาดยางเริ่มต้นจากอำเภอท่าเรือ
วิ่งไปอยุธยา ชาวบ้าน เกษตรกรใช้การเดินเท้า รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน รถใช้ในการเกษตรเพื่อการขนส่งเพื่อการขนส่งผลผลิตสู่ตลาด
           2.  ทางน้ำ การสัญจรทางน้ำ โดยเรือพายและติดเครื่องยนต์ของแม่น้ำป่าสัก
  -  แหล่งน้ำ
  แหล่งน้ำที่สำคัญและมีผลต่อกิจกรรมการเกษตรของตำบลบางพระครู ประกอบด้วย
                         1.  แม่น้ำป่าสัก  ไหลผ่านทางทิศเหนือของอำเภอนครหลวง ผ่านตำบลบางพระครูลงทางใต้ บรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตัวจังหวัด
พระนครศรีอยุธยา แม่น้ำป่าสักจะไหลผ่านในเขต หมู่ 2, 3 ของตำบล
                         2.  แม่น้ำลพบุรี ไหลผ่านหมู่ 1, 2, 4 ของตำบล
                         3.  น้ำชลประทาน ได้รับจากโครงการชลประทาน 8 (เริงราง) รับน้ำเต็มที่ในฤดูฝน ส่วนฤดูแล้งจะส่งน้ำเพื่อการเกษตร
 

         Next



*
*
*
*