Picture service Center
  เจ้าหน้าที่รับผิดชอบศูนย์บริการฯ  
 


นายอนุสรณ์  เอี่ยมผดุง
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
โทร. 082-0621653

 

ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลบ่อโพง ตั้งอยู่ที่ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 7 ต.บ่อโพง  
อ.นครหลวง  จ.พระนครศรีอยุธยา

คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ

ประธานกรรมการบริหาร ศบกต.

นางบุญสม  โปรยทอง
.................?................

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ 

กรรมการ 

นายอุทัย  ยวงเขียน
..........?...........
นายธวัช  ดวงสุวรรณ
ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4 โทร. 081-8803419
นายอภิชาติ  ภิรมย์เนตร
ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 6 โทร. 083-2276456
นางสุมาลี  ก้อนแก้ว
............?................

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

นางจันทร์เพ็ญ  ไม้เกตุ
...................?.................

นางอนงค์  คงบุตร
............?.............

นายรุ่งณรงค์  นงเยาว์
...........?.............
นางบุศราวรรณ  เจริญวรรณ
ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3 โทร. 089-7597234.

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

นายจิรศักดิ์  ใบบัวเผื่อน
ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 7 โทร. 081-7719823

นายเสนี่ย  ตรีคณา
..........?...........
นางเนตรา  ลำใยผล
............?..........
นายน้อย  ปรางทอง
...........?............

กรรมการ 

กรรมการและเลขานุการ 

กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

 

นายเอกราช  บุญเกิด
กำนันตำบลบ่อโพง หมู่ 2 โทร. 087-6622257
นายอนุสรณ์  เอี่ยมผดุง
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
โทร.086-8089613
นายสถิตย์  จันทร์ศรีทอง
ผู้แทน อบต.บ่อโพง โทร. ?

 

ประวัติ/ความเป็นมาของตำบล

             สมาชิกในชุมชนของตำบลบ่อโพง เป็นชุมชนดั้งเดิมของท้องถิ่นที่สืบเชื้อสายกันมายาวนาน สันนิษฐานว่าก่อนกรุงศรีอยุธยาหรือสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนก็อาศัยแนวแม่น้ำ ลำคลองเป็นหลักเช่นเดียวกับชุมชนอื่น ๆ เพราะต้องอาศัยน้ำในการอุปโภค - บริโภค และการสัญจรไปมา สมาชิกของชุมชนบ่อโพงยึดแนวของแม่น้ำป่าสักและแนวของคลองสาคู    ซึ่งเป็นคลองที่เชื่อมแม่น้ำป่าสักผ่านลึกเข้าไปด้านตะวันออกของแม่น้ำ เริ่มจากหมู่ที่ 2 ผ่าน 4, 6, 7  และผ่านตำบลข้าวเม่าอำเภออุทัย  ไปบรรจบกัยคลองอุทัย - วัดกระสังข์   แม้จะยึดแม่น้ำลำคลองเป็นหลักในการตั้งบ้านเรือน แต่ก็ต้องให้ใกล้กับที่ทำกิน จะเห็นว่าการตั้งบ้านเรือนกระจายออกไปจากชุมชนใหญ่ ต่อมาบ้านเรือนกลายเป็นชุมชนใหญ่ขึ้นมา  เช่น  ชุมชนบ้านดาบ ต่อมาได้กลายเป็นหมู่บ้านที่ 6, 7 ของตำบล ชื่อของตำบลเดิมจะมีชื่ออะไรไม่ทราบได้ แต่มาใช้ชื่อ บ่อโพง ก็ตอนที่กรุงศรีอยุธยาได้มีการระดมจับช้างป่าทางป่าตะวันออกเฉียงเหนือ ช้างที่จะนำเข้ากรุงศรีอยุธยา จะถูกต้อนผ่านตำบลหนองปลิงและตำบลบ่อโพงของอำเภอนครหลวง โดยใช้บริเวณหมู่ 4   ของตำบลบ่อโพงเป็นที่พักช้าง  เพื่อรอข้ามไปเพนียดคล้องช้างที่ตำบลสวนพริก  อำเภอพระนครศรีอยุธยา   ในการพักช้างจะมีการนำช้างมาลงอาบน้ำทุกวัน   ทำให้ดินริมตลิ่งบริเวณที่ช้างลงน้ำ   พังลึกเข้าไปเหมือนกับบ่อน้ำ  และในการเล่นน้ำของช้างจะใช้งวงดูดพ่นน้ำ  และบางครั้งทำอาการเหมือนใช้งวงวิดน้ำ การวิดน้ำในสมัยก่อนจะเรียกว่า โพง ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนี้ว่า "บ่อโพง"  และครั้งหนึ่งได้มีการจับช้างเผือกมาได้ระหว่างที่รอจะนำเข้าถวายพระเจ้าแผ่นดิน ก็ได้นำช้างมาพักที่บริเวณนี้ และได้นำลงอาบน้ำ ท่าน้ำที่ช้างเผือกลงอาบน้ำได้ถูกเรียกว่า "ท่าช้างเจ้าพระยา" ภายหลังได้ใช้เป็นหมู่บ้านที่ 4 ชื่อว่า บ้านท่าช้าง และผลพวงจากการต้อนช้างจากทางตะวันออกมากรุงศรีอยุธยา  ก็ได้เกณฑ์ชาวข่าซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยเชื้อสายเขมร มีความชำนาญในการจับช้างป่ามาเลี้ยง ให้มาเป็นผู้เลี้ยงช้าง และให้พักบริเวณบ้านดาบหมู่ 7 จนบางครั้งเรียกบ้านดาบว่า "บ้านข่า" แต่เนื่องจากถูกเกณฑ์มาไม่มากนัก จึงถูกกลมกลืนไปกับชาวบ้านดั้งเดิม ทั้งภาษาและขนบธรรมเนียม ประเพณี             

แผนที่ตำบล
 
อาณาเขตของตำบลบ่อโพง
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลคลองสะแก
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบบ้านเกาะ อ.พระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลหนองปลิง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลขยาย อ.บางปะหัน
ข้อมูลของตำบล
   -  สภาพทั่วไป
             ตำบลบ่อโพงตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอนครหลวง โดยมีแม่น้ำป่าสักไหลผ่านทางทิศตะวันตกของตำบล ทำให้หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 3  ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำป่าสักโดยมี หมู่ที่ 2, 5 ตั้งติดกับแม่น้ำป่าสักทางทิศตะวันออก ส่วนหมู่ที่ 6, 7 ตั้งอยู่ถัดออกไปทางทิศตะวันออก
 
  หมู่ที่ 1 บ้านเกาะ ผู้ใหญ่บ้าน  นายกฤตพจน์  คงบุตร เบอร์โทร. 082-2323419
  หมู่ที่ 2 บ้านท้ายวัด กำนัน  นายเอกราช  บุญเกิด เบอร์โทร. 087-6622257
  หมูที่ 3 บ้านต้นโพธิ์ ผู้ใหญ่บ้าน  นายรณรงค์  ผลนิมิตร เบอร์โทร. 098-6596614
  หมู่ที่ 4 บ้านท่าช้าง ผู้ใหญ่บ้าน  นายธวัช  ดวงสุวรรณ์ เบอร์โทร.081-8803419
  หมู่ที่ 5

บ้านใหม่

ผู้ใหญ่บ้าน  นายประสงค์  อินทรรักษา เบอร์โทร. 089-5350642
  หมู่ที่ 6 บ้านดาบ ผู้ใหญ่บ้าน  นายอภิชาติ  ภิรมย์เนตร เบอร์โทร. 095-9532567
  หมู่ที่ 7 บ้านดาบ ผู้ใหญ่บ้าน  นายจีระศักดิ์  ใบบัวเผื่อน เบอร์โทร. 081-7719823
   -  สภาพดิน
  กลุ่มชุดดินที่ 1
  ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด หน้าดินแตกระแหงเป็นร่องเล็กในฤดูร้อน สีดินส่วนมากเป็นสีดำหรือสีเทาแก่ ตลอดชั้นดิน อาจมีจุดประสีน้ำตาลหรือสีเหลืองปะปนอยู่บ้างในดินชั้นบน ส่วนดินชั้นล่างมักจะมีก้อนปูนปะปน เกิดจากต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำบริเวณเทือกเขาหินปูน หรือ หินภูเขาไฟ สภาพพื้นที่พบ ตามที่ราบลุ่มตั้งแต่ที่ราบน้ำท่วม ถึงตะพักลำน้ำระดับต่ำ มีน้ำแช่ขังในฤดูฝนลึก 30 - 40 ซม. นาน 3 - 4 เดือน ดินลึก มีความอุดมสมบูรณ์ ตามธรรมชาติ ปานกลางถึงสูง pH 6.5-8.0 ได้แก่ ชุดดินช่องแค ท่าเรือ โคกกระเทียม บ้านหมี่ ลพบุรี-ทำนาบุรีรัมย์-ทำนา บางเลน บ้านโพด และวัฒนา

ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ดินเหนียวจัดการไถพรวนลำบาก ดินแห้งจะแตกระแหงเป็นร่องลึกทำให้น้ำซึมหายได้ง่ายเมื่อฝนทิ้งช่วงนานกว่าปกติ ในช่วงฤดูฝนมีน้ำแช่ขัง

ความเหมาะสมสำหรับปลูกพืช : พื้นที่มีศักยภาพเหมาะสมทำนา ในฤดูฝนมีน้ำขัง 3-4 เดือน แต่สามารถปลูกพืชไร่ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว และผักต่าง ๆ ก่อนและหลังการปลูกข้าว ถ้ามีน้ำชลประทาน หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ

การจัดการกลุ่มชุดดิน 1
            ปลูกข้าวหรือทำนา เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน โดยการไถกลบตอซัง หลังการเก็บเกี่ยวข้าว

            การปลูกพืชตระกูลถั่ว ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วหมุนเวียนกับพืชไร่อย่างอื่น หรือการปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ปอเทือง โสน โสนอัฟริกัน ถั่วต่าง ๆ อัตราไร่ละ 5 กก./ไร่ หว่านทั่วแปลงแล้วไถกลบต้นลงดินก่อน ปลูกข้าว 2-3 เดือน การใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มความ อุดม สมบูรณ์ กรณีใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ให้ใช้อัตรา 2-3 ตัน/ไร่ ถ้าเป็นปุ๋ยเคมีสำหรับพันธุ์ข้าวไวแสง เช่น ขาวปากหม้อ 148 ขาวตาแห้ง 17 ปทุมธานี 60 ให้ใช้ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตร 16-20-0 หรือสูตร 18-22-0 อัตรา 25-30 กก./ไร่ ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยยูเรีย 5-10 กก./ไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 10-20 กก./ไร่ ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวไม่ไวแสง เช่น กข. 1-5 กข.7 กข.9 สุพรรณบุรี 60 ให้ใช้ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตร 16-20-0 หรือสูตร 18-22-0 อัตรา 25-35 กก./ไร่ ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยยูเรีย 10-15 กก./ไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 20-30 กก./ไร่

            ปลูกพืชไร่ กรณีปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าว หรือปลูกฤดูแล้ง พืชไร่ที่จะปลูกควรมีอายุไม่เกิน 120 วัน ให้ยกร่องสูง 20-30 ซม. และมีร่องระบายน้ำรอบแปลง หรือภายในแปลงนาห่างกัน 15-20 เมตร ควรมีความกว้าง 40-50 ซม. ลึก 20-30 ซม. ทำให้ดินร่วนซุยด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา 1-2 ตัน/ไร่ ไถคลุก-เคล้ากับดินและตากดินให้แห้ง 20-30 วัน ก่อนที่จะย่อยดิน กรณีเปลี่ยนสภาพพื้นที่จากนาข้าวเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่แบบถาวร ต้องสร้างคันดินรอบพื้นที่ปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝน ภายในพื้นที่ยกร่องปลูกแบบถาวร โดยให้สันร่องกว้าง 6-8 เมตร คูระบายน้ำกว้างประมาณ 1.5 เมตร ลึกประมาณ 1 เมตร บนสันร่องใหญ่อาจแบ่งซอยเป็นสันร่องย่อย โดยยกแปลงให้สูงขึ้นประมาณ 10-20 ซม. และกว้าง 1.5 - 2.0 เมตร เพื่อช่วยระบายน้ำบนสันร่องและเพื่อสะดวกในการเข้าไปดูแลกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยเคมี เช่น

                           ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ใช้สูตร 0-46-0 หรือ สูตร0-40-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ หรือสูตร 0-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ โดยโรยปุ๋ยก้นร่องหรือหว่านปุ๋ยที่แปลงพรวนดินกลบปุ๋ยก่อนปลูก

                           อ้อย ใช้สูตร 16-8-8 อัตรา 70-90 กก./ไร่ หรือสูตร 20-10-10 อัตรา 50 กก./ไร่ สำหรับอ้อยปลูกใส่ครั้งเดียว พรวนกลบ เมื่ออ้อยอายุ 60-90 วัน ส่วนอ้อยตอใช้สูตร 10-5-5 อัตรา 40-50 กก./ไร่ ใส่ครั้งเดียวโรยข้างแถวแล้ว พรวนดินกลบ สำหรับปุ๋ยที่ใส่เพื่อแต่งตอ ใช้สูตร 15-10-10 อัตรา 100 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่หลังแต่งกอ และครั้งที่สองใส่หลังครั้งแรก 40-60 วัน

                           มะม่วง (ให้ผลแล้ว) ใช้ปุ๋ยสูตร 20-10-10 อัตรา 1.5-3.0 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 หลังเก็บเกี่ยวผล ผลิต ครั้งที่ 2 หลังตัดแต่งกิ่ง ครั้งที่ 3 ใส่ช่วงหลังติดผลแล้ว ส้ม (ที่ตกผลแล้ว) ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 2.0 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง

                           ขนุน ใช้สูตร 15-15-15 หรือสูตร 13-13-21 อัตรา 2.0 กก./ต้น/ปี โรยปุ๋ยรอบโคนต้นรัศมีพุ่มใบ พรวนดิน พูนโคน กลบปุ๋ยต้นฤดูฝน

  กลุ่มชุดดินที่ 2F
             ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินบนมีสีเทาหรือเทาแก่ ดินล่างมีสีเทา จุดประสีน้ำตาลและสีเหลืองหรือสีแดง พบตามที่ราบลุ่มภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ มีน้ำแช่ขังลึก20-50 ซม. นาน 3-5 เดือน ถ้าเป็นดินที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลจะพบสารจาโรไซต์สีเหลืองฝางในระดับความลึกเป็นดินลึก มีการระบายน้ำเลว ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง pH 4.5-5.5 ได้แก่ ชุดดินอยุธยา บางเขน บางน้ำเปรี้ยว ท่าขวาง ชุมแสง บางปะอิน และมหาโพธิ์
            ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ปฏิกิริยาดินค่อนข้างเป็นกรดจัด ฤดูฝนน้ำขังนาน 3-5 เดือน
 

          ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช : เนื่องจากสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงราบลุ่มเนื้อดินเป็นดิน เหนียว การระบายน้ำเลว ในช่วงฤดูฝนจะมี น้ำขังอยู่ที่ผิวดินระหว่าง
4-6 เดือน จึงมีศักยภาพเหมาะสมที่จะใช้ทำนาในช่วงฤดูฝน แต่สามารถ ปลูกพืชไร่ พืชผัก หรือพืชอื่นที่มีอายุสั้นได้ในช่วงฤดูแล้ง สำหรับในบริเวณพื้นที่ที่มีน้ำ ชลประทานเข้าถึงหรือแหล่งน้ำ ธรรมชาติ ถ้าใช้ปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผล หรือปลูกพืชไร่และพืชผักตลอดทั้งปีจะต้องทำคันดินล้อมรอบ
พื้นที่เพาะปลูกและยก ร่องปลูกเพื่อช่วยการระบายน้ำของดิน

           การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 2f
           ปลูกข้าวหรือทำนา  เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน โดยการปลูกพืชบำรุงดินปฏิบัติเหมือนกลุ่มชุดดินที่ 1 แก้ไขเนื้อดินเหนียว และมีโครงสร้างค่อนข้างแน่นทึบ
ด้วยปุ๋ยอินทรีย์ เช่นปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1.5-2.0 ตัน/ไร่ หรือใช้วัสดุปรับปรุงดินอย่างอื่น เช่น ขี้เลื่อย แกลบ กากน้ำตาล เป็นต้น ไถคลุกเคล้า และกลบลงในดิน ใส่ปูนมาร์ล
หินปูนบด หรือหินปูนฝุ่นเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง อัตรา 0.5-1.0 ตัน/ไร่ ไถคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ปล่อยน้ำแช่ประมาณ 10 วัน แล้วระบายน้ำออกแล้วค่อยขังน้ำใหม่
เพื่อทำเทือกและรอปักดำ หรือใช้น้ำล้างความเป็นกรดของดิน ประมาณ 4-5 ครั้ง ปุ๋ยเคมี ครั้งที่ 1
ที่ใช้สูตร 16-20-0 อัตรา 25-40 กก./ไร่ หรือสูตร 16-16-8 อัตรา 30-40 กก./ไร่
ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยยูเรีย 5-10 กก./ไร่ ใส่เมื่อข้าวตั้งท้อง พันธุ์ข้าวที่แนะนำ เช่น ขาวตาหยก ไข่มุก สีรวง ลูกเหลือง ขาวดอกมะลิ 105 กข 7 กข 13 สุพรรณบุรี 90 เล็บมือนาง
            ปลูกพืชไร่ กรณีปลูกในช่วงฤดูแล้งหรือหลังเก็บเกี่ยวข้าวให้ยกร่องปลูกสูง 10-20 ซม. ทำร่องภายในแปลงห่างกันประมาณ 8-12 เมตร  และร่อง 40-50 ซม. ลึก 20-30 ซม.
เพื่อช่วยระบายน้ำใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1.5 - 2.0 ตัน/ไร่ หรือปลูกพืชตระกูลถั่วไถกลบไปในดิน ในกรณีดินเป็นกรดให้ใส่ปูนในรูปต่าง ๆ เป็นปูนขาว ปูนมาร์ล อื่น ๆ ที่หาได้ง่าย ใช้อัตรา 1-2 ตัน/ไร่
หว่านให้ทั่วแปลง ไถคลุกเคล้ากับดินทิ้งไว้ประมาณ 15 วันก่อนปลูกพืช กรณีเปลี่ยนพื้นที่นาเป็นพืชที่ทำไร่แบบถาวร ให้สร้างคันดินรอบพื้นที่ปลูก ภายในพื้นที่ยกร่องปลูกแบบถาวร
สันร่องปลูกกว้าง 6-8 เมตร คูกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร   บนร่องยกแปลงย่อยสูง 10-20 ซม. กว้าง 1.5 - 2.0 เมตร
          การใช้ปุ๋ยเคมี เช่น ข้าวโพดหวาน ใช้ปุ๋ยสูตร 20-20-20 หรือสูตร 15-15-15 อัตรา 50-100 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละเท่า ๆ กัน คือรองก้นหลุมก่อนปลูก
และเมื่ออายุ 25 วันและใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 10 กก./ไร่ โรยข้างแถวข้าวโพด พูนดินกลบโคน เมื่ออายุ 25-30 วัน

                                ถั่วเขียว ถั่วลิสง ใช้สูตร 12-24-12 อัตรา 30 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละ เท่า ๆ กัน ครั้งแรกใส่รองพื้น และเมื่อต้นถั่วอายุ 20-25 วัน              โรยปุ๋ยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ ควรคลุกไรโซเบียมก่อนปลูก

                                อ้อย สำหรับอ้อยเริ่มปลูกใช้สูตร 16-8-8 หรือ 16-6-6 อัตรา 70-90 กก./ไร่ หรือสูตร 18-6-6 หรือสูตร 18-8-8 อัตรา 65-58 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง สำหรับอ้อยใช้สูตร 14-14-14 หรือสูตร 15-15-15 หรือ สูตร 16-16-16 อัตรา 40-50 กก./ไร่ ร่วมกับสูตร 46-0-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง โรยข้างแถวแล้วพรวนดิน

                                มะม่วง ส้มเขียวหวาน ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 1 กก./ต้น เมื่อต้นอายุ 1-2 ปี และใช้อัตรา 1.5-3 กก./ต้น เมื่อต้นอายุ 3-6 ปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี

                                มะพร้าว ใช้สูตรและอัตราดังต่อไปนี้ อายุ 1 ปี ใช้สูตร 15-15-15 หรือสูตรอื่นสูตรที่มีธาตุอาหารเท่าหรือใกล้เคียงกัน อัตรา 1 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี
อายุ 2 ปี ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 2 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 3-4 ปี ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 2 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 5 ปี  ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 2.5 กก./ต้น
แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี อายุ 6 ปีขึ้นไป ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 3 กก./ต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง/
ปี

                                ส้มโอ ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่ 2 ครั้ง/ปี ดังนี้ อายุ 1 ปี ใช้อัตรา 1 กก./ต้น อายุ 2 ปี ใช้อัตรา 2 กก./ต้น อายุ 3 ปี ใช้อัตรา 3 กก./ต้น อายุ 5 ปี
ใช้อัตรา 5 กก./ต้น

  กลุ่มชุดดินที่ 33B
             ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนปนทรายแป้ง ดินมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนแดง บางแห่ง ในดินล่างลึก ๆ มีจุดประสีเทาและน้ำตาล อาจมีแร่ไมก้า
หรือก้อนปูนปะปน เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ พบบนสันดินริมน้ำเก่าและเนินตะกอนรูปพัด มีพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน
ประมาณ 2-12 % เป็นดินลึกมาก มีการระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง ระดับน้ำใต้ดินอยู่ลึกกว่า 1 เมตรตลอดปี มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ดินชั้นบนมี pH
ประมาณ 6.5-7.5 ได้แก่ชุดดินดงยางเอน ชุดดินกำแพงแสน ชุดดินกำแพงเพชร และชุดดินลำสนธิ  ธาตุพนม
            ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : มีความเสี่ยงต่อการขาดน้ำได้ในบางปี
            ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช : กลุ่มชุดดินที่ 33 มีศักยภาพเหมาะสมในการปลูกพืชหลายชนิดทั้งพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล และทำนาข้าว  ซึ่งได้ใช้ประโยชน์ดังกล่าวนี้
อยู่ในภาคต่าง ๆ ที่พบดินกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือกในการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมกับศักยภาพ
             การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 33
                ปลูกข้าวหรือทำนา ปัญหาดินขาดธาตุอาหารพืชบางอย่างหรือมีแต่ไม่เพียงพอ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อัตรา 1.5-2.0 ตัน/ไร่  ใส่ระยะการไถเตรียมดินก่อนปักดำข้าว หรืออาจจะมีการปลูกพืชตระกูลถั่วพวกปอเทือง โสนอัฟริกาฯ เพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 5 กก./ไร่ หว่านก่อนถึงฤดูทำนาประมาณ 2-3 เดือน แล้วจึงไถกลบ การใส่ปุ๋ยเคมี
ควรใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่ก่อนปักดำ 1 วัน หรือ ใส่วันปักดำแล้วคราดกลบโดยใช้ปุ๋ย 16-20-0 หรือ 20-20-0 อัตรา 20 กก./ไร่ สำหรับข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสง และอัตรา 35 กก./ไร่ สำหรับข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง ครั้งที่สอง ใส่ก่อนระยะข้าวออกดอกประมาณ 30 วัน หรือ หลังจากปักดำแล้วประมาณ 30-45 วัน โดยหว่านให้ทั่วแปลงเป็นการใส่ปุ๋ยแต่งหน้าด้วยปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตอัตรา 15 กก./ไร่ หรือปุ๋ยยูเรีย อัตรา 6 กก./ไร่ สำหรับข้าวพันธุ์ไวต่อแสงหรือใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 13 กก./ไร่ สำหรับข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแส

             ปลูกพืชไร่ ปัญหาการระบายน้ำของดินเลว การเตรียมพื้นที่เพาะปลูก ในกรณีปลูกพืชไร่ในช่วงฤดูแล้งหรือหลังการเก็บเกี่ยวข้าวควรดำเนินการดังต่อไปนี้
ให้ทำร่องระบายน้ำรอบกระทงนาและทำร่องระบายในกระทงนาในกรณีที่กระทงนาใหญ่ ซึ่งห่างกันประมาณ 15-20 เมตรและร่องมีความกว้าง 40-50 ซม.ลึกประมาณ 20-30 ซม.
ซึ่งร่องที่กล่าวนี้จะช่วยระบายน้ำผิวดินและสะดวกในการให้น้ำและเข้าไปดูแลพืชที่ปลูก ปัญหาดินขาดธาตุอาหารพืชบางอย่าง และดินค่อนข้างไม่ร่วนซุย เช่น พืชตระกูลถั่ว
ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เช่นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอัตรา 1-2 ตัน/ไร่ หว่านให้ทั่วแปลงแล้วไถกลบก่อนปลูก 7-14 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 0-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่
หรือสูตรอื่นที่มีธาตุอาหารพืชเท่าเทียมกัน ใส่รองก้นหลุมปลูกหรือโรยสองข้างแถวปลูกแล้วพรวนดินกลบเมื่อถั่วอายุได้ 20-25 วัน

             ข้าวโพด และข้าวฟ่าง ใส่ปุ๋ยเคมีปฏิบัติเช่นเดียวกับกลุ่มชุดดินที่ 4

             ปลูกไม้ผล เตรียมหลุมปลูกขนาด 50 x 50 x 50 ซม. คลุกเคล้าด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 25-30 กก./หลุม

             พืชที่เหมาะสมกับชุดดิน    ถั่ว, ข้าวโพด, ข้าวฟ่าง, ลิ้นจ

   -  การคมนาคม
             การคมนาคมของตำบลบ่อโพง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 32 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 78 - 79 เลี้ยวซ้ายลอดใต้สะพานข้ามแม่น้ำป่าสัก
และเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 3063 บริเวณนี้เป็นพื้นที่ หมู่ 2, 4, 5, 6, 7 ส่วนหมู่ 1, 3 ต้องข้ามสะพานแม่น้ำป่าสักอยู่อีกฝั่ง
  -  แหล่งน้ำ
            แหล่งน้ำที่มีความสำคัญของตำบลบ่อโพง ทั้งอดีตและปัจจุบัน คือ แม่น้ำป่าสัก ทั้งด้านอุปโภค บริโภค และการคมนาคม การเพาะปลูกอาจจะไม่ใช้โดยตรง คือ
ใช้น้ำชลประทาน แต่ชลประทานก็นำน้ำจากแม่น้ำป่าสักไปเป็นน้ำต้นทุนส่งไปตามคลองชลประทานครอบคลุมทั้งตำบลในหน้าแล้ง อาจมีปัญหาบ้างเพราะปริมาณน้ำไม่เพียงพอ
 

         Next



*
*
*
*