ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลแม่ลา
ตั้งอยู่ที่ โรงสีข้าวชุมชนเก่า
หมู่ที่ 6 ต.แม่ลา  อ.นครหลวง  จ.พระนครศรีอยุธยา
พิกัด X : 675545  Y : 1604056

เจ้าหน้าที่รับผิดชอบศูนย์บริการฯ


นางสาวสุกัญญา อิ่มอรุณ
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร
โทร. 086-1289894
คณะกรรมการบรทำเนียบคณะกรรมการศูนย์บริการฯ

ประวัติ/ความเป็นมาของตำบล

                  ประวัติของตำบลแม่ลา จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ ในหมู่บ้าน ไม่ทราบแน่ชัดว่าประวัติความเป็นมาเป็นอย่างไร แต่ตำบลแม่ลา ตั้งอยู่ในเขต
อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่ทั้งหมด 8,106 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตร 6,706 ไร่ แบ่งการปกครองเป็น 6 หมู่บ้าน

แผนที่ตำบล
 
อาณาเขตของตำบลแม่ลา
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลพระนอน อ.นครหลวง
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบบางพระครู และตำบลนครหลวง อ.นครหลวง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลพระนอน อ.นครหลวง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลบางพระครู อ.นครหลวง
ข้อมูลของตำบล
   -  สภาพทั่วไป
             ตำบลแม่ลา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอนครหลวง มีหมู่บ้านที่ 1, 2, 4, 6 โดยมีแม่น้ำป่าสักไหลผ่านตำบล แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ
ทางทิศตะวันออกเป็นที่ตั้งของหมู่ 3 และ หมู่ 5
 
  หมู่ที่ 1 บ้านท่าใหญ่ ผู้ใหญ่บ้าน  นางวาสนา  อารีย์รื่น เบอร์โทร. 087-8095734
  หมู่ที่ 2 บ้านแม่ลา ผู้ใหญ่บ้าน นายศราวุธ  ด้วงประยูร เบอร์โทร. 0870422120
  หมูที่ 3 บ้านแม่ลา ผู้ใหญ่บ้าน  นายธีระศักดิ์  ด้วงประยูร เบอร์โทร. 081-6953615
  หมู่ที่ 4 บ้านแม่ลา ผู้ใหญ่บ้าน  นางสาววีรวรรณ  นูนศิริ เบอร์โทร. 00909095479
  หมู่ที่ 5 บ้านแม่ลา ผู้ใหญ่บ้าน นายอภิชาติ ทองนพ เบอร์โทร. 089-4416468
  หมู่ที่ 6 บ้านบางเขมา กำนัน นายสมบุญ  จำพรต เบอร์โทร. 086-7115097
   -  สภาพดิน
  กลุ่มชุดดินที่ 1
  ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด หน้าดินแตกระแหงเป็นร่องเล็กในฤดูร้อน สีดินส่วนมากเป็นสีดำหรือสีเทาแก่ ตลอดชั้นดิน อาจมีจุดประสีน้ำตาลหรือสีเหลืองปะปนอยู่บ้างในดินชั้นบน ส่วนดินชั้นล่างมักจะมีก้อนปูนปะปน เกิดจากต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำบริเวณเทือกเขาหินปูน หรือ หินภูเขาไฟ สภาพพื้นที่พบ ตามที่ราบลุ่มตั้งแต่ที่ราบน้ำท่วม ถึงตะพักลำน้ำระดับต่ำ มีน้ำแช่ขังในฤดูฝนลึก 30 - 40 ซม. นาน 3 - 4 เดือน ดินลึก มีความอุดมสมบูรณ์ ตามธรรมชาติ ปานกลางถึงสูง pH 6.5-8.0 ได้แก่ ชุดดินช่องแค ท่าเรือ โคกกระเทียม บ้านหมี่ ลพบุรี-ทำนาบุรีรัมย์-ทำนา บางเลน บ้านโพด และวัฒนา

ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ดินเหนียวจัดการไถพรวนลำบาก ดินแห้งจะแตกระแหงเป็นร่องลึกทำให้น้ำซึมหายได้ง่ายเมื่อฝนทิ้งช่วงนานกว่าปกติ ในช่วงฤดูฝนมีน้ำแช่ขัง

ความเหมาะสมสำหรับปลูกพืช : พื้นที่มีศักยภาพเหมาะสมทำนา ในฤดูฝนมีน้ำขัง 3-4 เดือน แต่สามารถปลูกพืชไร่ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว และผักต่าง ๆ ก่อนและหลังการปลูกข้าว ถ้ามีน้ำชลประทาน หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ

การจัดการกลุ่มชุดดิน 1
            ปลูกข้าวหรือทำนา เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน โดยการไถกลบตอซัง หลังการเก็บเกี่ยวข้าว

            การปลูกพืชตระกูลถั่ว ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วหมุนเวียนกับพืชไร่อย่างอื่น หรือการปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ปอเทือง โสน โสนอัฟริกัน ถั่วต่าง ๆ อัตราไร่ละ 5 กก./ไร่ หว่านทั่วแปลงแล้วไถกลบต้นลงดินก่อน ปลูกข้าว 2-3 เดือน การใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มความ อุดม สมบูรณ์ กรณีใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ให้ใช้อัตรา 2-3 ตัน/ไร่ ถ้าเป็นปุ๋ยเคมีสำหรับพันธุ์ข้าวไวแสง เช่น ขาวปากหม้อ 148 ขาวตาแห้ง 17 ปทุมธานี 60 ให้ใช้ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตร 16-20-0 หรือสูตร 18-22-0 อัตรา 25-30 กก./ไร่ ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยยูเรีย 5-10 กก./ไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 10-20 กก./ไร่ ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวไม่ไวแสง เช่น กข. 1-5 กข.7 กข.9 สุพรรณบุรี 60 ให้ใช้ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตร 16-20-0 หรือสูตร 18-22-0 อัตรา 25-35 กก./ไร่ ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยยูเรีย 10-15 กก./ไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 20-30 กก./ไร่

            ปลูกพืชไร่ กรณีปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าว หรือปลูกฤดูแล้ง พืชไร่ที่จะปลูกควรมีอายุไม่เกิน 120 วัน ให้ยกร่องสูง 20-30 ซม. และมีร่องระบายน้ำรอบแปลง หรือภายในแปลงนาห่างกัน 15-20 เมตร ควรมีความกว้าง 40-50 ซม. ลึก 20-30 ซม. ทำให้ดินร่วนซุยด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา 1-2 ตัน/ไร่ ไถคลุก-เคล้ากับดินและตากดินให้แห้ง 20-30 วัน ก่อนที่จะย่อยดิน กรณีเปลี่ยนสภาพพื้นที่จากนาข้าวเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่แบบถาวร ต้องสร้างคันดินรอบพื้นที่ปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝน ภายในพื้นที่ยกร่องปลูกแบบถาวร โดยให้สันร่องกว้าง 6-8 เมตร คูระบายน้ำกว้างประมาณ 1.5 เมตร ลึกประมาณ 1 เมตร บนสันร่องใหญ่อาจแบ่งซอยเป็นสันร่องย่อย โดยยกแปลงให้สูงขึ้นประมาณ 10-20 ซม. และกว้าง 1.5 - 2.0 เมตร เพื่อช่วยระบายน้ำบนสันร่องและเพื่อสะดวกในการเข้าไปดูแลกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยเคมี เช่น

                           ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ใช้สูตร 0-46-0 หรือ สูตร0-40-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ หรือสูตร 0-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ โดยโรยปุ๋ยก้นร่องหรือหว่านปุ๋ยที่แปลงพรวนดินกลบปุ๋ยก่อนปลูก

                           อ้อย ใช้สูตร 16-8-8 อัตรา 70-90 กก./ไร่ หรือสูตร 20-10-10 อัตรา 50 กก./ไร่ สำหรับอ้อยปลูกใส่ครั้งเดียว พรวนกลบ เมื่ออ้อยอายุ 60-90 วัน ส่วนอ้อยตอใช้สูตร 10-5-5 อัตรา 40-50 กก./ไร่ ใส่ครั้งเดียวโรยข้างแถวแล้ว พรวนดินกลบ สำหรับปุ๋ยที่ใส่เพื่อแต่งตอ ใช้สูตร 15-10-10 อัตรา 100 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่หลังแต่งกอ และครั้งที่สองใส่หลังครั้งแรก 40-60 วัน

                           มะม่วง (ให้ผลแล้ว) ใช้ปุ๋ยสูตร 20-10-10 อัตรา 1.5-3.0 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 หลังเก็บเกี่ยวผล ผลิต ครั้งที่ 2 หลังตัดแต่งกิ่ง ครั้งที่ 3 ใส่ช่วงหลังติดผลแล้ว ส้ม (ที่ตกผลแล้ว) ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 2.0 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง

                           ขนุน ใช้สูตร 15-15-15 หรือสูตร 13-13-21 อัตรา 2.0 กก./ต้น/ปี โรยปุ๋ยรอบโคนต้นรัศมีพุ่มใบ พรวนดิน พูนโคน กลบปุ๋ยต้นฤดูฝน

   -  การคมนาคม
            ตำบลแม่ลา การคมนาคมใช้ได้ 2 ทางคือ
                         -  ทางบก ใช้ถนนคันคลองชลประทานเป็นถนนลูกรังตลอดสาย มีรถยนต์ประจำทางไม่เป็นเวลา ชาวบ้าน - เกษตรกรใช้การเดินเท้า รถจักรยาน
        รถจักรยานยนต์ รถใช้ในการเกษตร เพื่อการขนส่ง เพื่อการขนส่งผลผลิตสู่ตลาด
                         -  ทางน้ำ การสัญจรทางน้ำ โดยเรือพายและติดเครื่องยนต์ ของแม่น้ำป่าสัก
  -  แหล่งน้ำ
          แหล่งน้ำที่สำคัญและมีผลต่อกิจกรรมการเกษตรของตำบลแม่ลาประกอบด้วย                          
                          1. แม่น้ำป่าสัก ไหลผ่านทางทิศเหนือของอำเภอนครหลวง ผ่านตำบลบางพระครูลงทางใต้ บรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตัวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
        ซึ่งแม่น้ำป่าสักนี้ ได้แบ่งเขตอำเภอนครหลวงออกเป็น 2 ฝั่ง
                          2. น้ำชลประทาน ได้รับจากโครงการชลประทาน 8 (เริงราง) รับน้ำเต็มที่ในฤดูฝน ส่วนฤดูแล้งจะส่งน้ำเพื่อการเกษตรตลอดป
 

         Next