Picture service Center.... ...
เจ้าหน้าที่รับผิดชอบศูนย์บริการฯ
นางสาวเบญจรัตน์  ม่วงคำ
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
โทร. 092-2474261

ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลนครหลวง ตั้งอยู่ที่ สภาตำบลเก่า หมู่ที่ 2 ต.นครหลวง  อ.นครหลวง  จ.พระนครศรีอยุธยา


คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ

ประธานกรรมการบริหาร ศบกต.

นายมานพ  เสมาทัต
กำนันตำบลนครหลวง   โทร. 089-6167540

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ

นายอุทัย  บุญเรือง
ผู้ใหญ่บ้าน ม.1  โทร. 081-2581922
นางชลอ  สงเคราะห์ธรรม
.....?.....
นายสุวรรณ  อบกลิ่น
อาสาสมัครเกษตร ม.4  โทร. ...?...
นายเปลื้อง  อบกลิ่น
..............?..............

กรรมการ

กรรมการ 

กรรมการ

กรรมการ

นายสมศักดิ์  คหินทพงษ์
.............?............ โทร. 081-7317467
นายสินชัย  ดีเจริญ
 โทร. 087-1212766
นายจตุพล  สิงมงกต
...?... โทร. ?
นายจำเริญ  ปิ่นแก้ว
............?............

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ

นายสมชัย  ชื่นพงษ์
............?..............
นายเกรียงไกร  แถบทอง
...........?............
นายปราสาท  ดิษฐลักษณ์
............?............
นายแช่ม  เยื้องทิพย์
...........?...........

กรรมการ

กรรมการและเลขานุการ

กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

 

นายสมนึก  บรรจงศิริ
..........?...........
นางสาวเบญจรัตน์  ม่วงคำ
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
โทร. 085-1662245
นางนงลักษณ์  อ่อนลา
ผู้แทน ทศบต.นครหลวง
โทร. .......?.......

 

 
ประวัติ/ความเป็นมาของตำบล
        มีผู้เล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เมื่อ พ.ศ. 2174 พระองค์ทรงกรุณาโปรดเกล้าให้ช่างถ่ายแบบปราสาทหิน
ชื่อ "พระนครหลวง" ในกรุงกัมพูชา และจำลองมาสร้างไว้ในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกิยรติว่าในสมัยพระองค์ กรุงศรีอยุธยามีกัมพูชาเป็น
ประเทศราชอยู่ด้วย และเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าได้ลอกแบบจากกัมพูชา จึงต้องใช้ชื่อเดิมว่า "ปราสาทนครหลวง" ดังนันจึงต้องตั้งชื่ออำเภอเหมือนชื่อ ปราสาทว่า
"อำเภอนครหลวง" และเนื่องจากปราสาทนั้นตั้งอยู่ในเขตตำบลที่อำเภอตั้งอยู่ จึงใช้ชื่อตำบลว่า "ตำบลนครหลวง"
แผนที่ตำบล อาณาเขตตำบล
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลแม่ลา
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบปากจั่น
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบ้านชุ้ง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลบางระกำ และ ตำบลบางพระครู
ข้อมูลของตำบล 
 -  สภาพทั่วไป   ตำบลนครหลวง ตั้งอยู่ใจกลางของอำเภอนครหลวง ซึ่งมีทั้งหมด 12 ตำบล อยู่ในเขตความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลนครหลวง
การแบ่งเขตการปกครองของตำบลนครหลวง แบ่งออกเป็น 9 หมู่บ้าน คือ
  หมู่ที่ 1 บ้านมอญ ผู้ใหญ่บ้าน  นายอุทัย  บุญเรือง เบอร์โทร. 081-2581922
  หมูที่ 2 บ้านนครหลวง ผู้ใหญ่บ้าน  นายวานิช  ดิษฐลักษณ์ เบอร์โทร. 087-0588771
  หมู่ที่ 3 บ้านนครหลวง ผู้ใหญ่บ้าน  นายมานัส  กลิ่นสารี เบอร์โทร. 085-7101723
  หมู่ที่ 4 บ้านนครหลวง กำนัน  นายมาพ  เสมาทัต เบอร์โทร. 089-6167540
  หมู่ที่ 5 บ้านโพธิ์ซ้าย ผู้ใหญ่บ้าน  นายวสันต์  ขำศรีพงษ์ เบอร์โทร. 063-6529928
  หมู่ที่ 6 บ้านโพธิ์ซ้าย ผู้ใหญ่บ้าน  นายพลกานต์  แสงกฤช เบอร์โทร. 087-1191393
  หมู่ที่ 7 บ้านม่วงชุม ผู้ใหญ่บ้าน  นางยุพิน  ดามี เบอร์โทร. 087-1212766
  หมู่ที่ 8 บ้านสวนหลวง ผู้ใหญ่บ้าน  นายณพล   คุ้มจั่น เบอร์โทร. 081-7589071
  หมู่ที่ 9 บ้านบึงบัว ผู้ใหญ่บ้าน  นายวิศิษฐ์  คหินทพงษ์ เบอร์โทร. 086-1285631
- สภาพดิน
กลุ่มชุดดินที่ 1           
           ลักษณะโดยทั่วไป
   เนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด หน้าดินแตกระแหงเป็นร่องเล็กในฤดูร้อน สีดินส่วนมากเป็นสีดำหรือสีเทาแก่ ตลอดชั้นดินอาจมีจุดประ
สีน้ำตาลหรือสีเหลืองปะปนอยู่บ้างในดินชั้นบน ส่วนดินชั้นล่างมักจะมีก้อนปูนปะปน เกิดจากต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำบริเวณเทือกเขาหินปูนหรือหิน
ภูเขาไฟสภาพพื้นที่พบตามที่ราบลุ่มตั้งแต่ที่ราบน้ำท่วม ถึงตะพักลำน้ำระดับต่ำ มีน้ำแช่ขังในฤดูฝนลึก 30 - 40 ซม. นาน 3 - 4 เดือน ดินลึกมีความอุดมสมบูรณ์ ตามธรรมชาติปานกลางถึงสูง pH 6.5-8.0 ได้แก่ ชุดดินช่องแค ท่าเรือ โคกกระเทียม บ้านหมี่ ลพบุรี-ทำนาบุรีรัมย์-ทำนา บางเลน บ้านโพด และวัฒนา
           ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ดินเหนียวจัด การไถพรวนลำบาก ดินแห้งจะแตกระแหงเป็นร่องลึก ทำให้น้ำซึมหาย ได้ง่ายเมื่อฝนทิ้งช่วงนานกว่าปกติ ในช่วงฤดูฝนมีน้ำแช่ขัง
           ความเหมาะสมสำหรับปลูกพืช : พื้นที่มีศักยภาพเหมาะสมทำนา ในฤดูฝนมีน้ำขัง 3-4 เดือน แต่สามารถปลูกพืชไร่ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว และผักต่าง ๆ ก่อนและหลังการปลูกข้าว ถ้ามีน้ำชลประทาน หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ
           การจัดการกลุ่มชุดดิน 1
           ปลูกข้าวหรือทำนา  เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน โดยการไถกลบตอซัง หลังการเก็บเกี่ยวข้าว
           การปลูกพืชตระกูลถั่ว ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วหมุนเวียนกับพืชไร่อย่างอื่น หรือการปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ปอเทือง โสน โสนอัฟริกัน ถั่วต่าง ๆ อัตราไร่ละ 5 กก./ไร่ หว่านทั่วแปลงแล้วไถกลบต้นลงดินก่อน ปลูกข้าว 2-3 เดือน การใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มความ อุดม สมบูรณ์ กรณีใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกให้ใช้อัตรา 2-3 ตัน/ไร่ ถ้าเป็นปุ๋ยเคมีสำหรับพันธุ์ข้าวไวแสง เช่น ขาวปากหม้อ 148 ขาวตาแห้ง 17 ปทุมธานี 60 ให้ใช้ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตร 16-20-0 หรือสูตร 18-22-0 อัตรา 25-30 กก./ไร่ ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยยูเรีย 5-10 กก./ไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 10-20 กก./ไร่ ถ้าเป็นพันธุ์ข้าว ไม่ไวแสง เช่น กข. 1-5 กข.7 กข.9 สุพรรณบุรี 60 ให้ใช้ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตร 16-20-0 หรือสูตร 18-22-0 อัตรา 25-35 กก./ไร่ ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยยูเรีย 10-15 กก./ไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 20-30 กก./ไร่
          ปลูกพืชไร่  กรณีปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าว หรือปลูกฤดูแล้ง พืชไร่ที่จะปลูกควรมีอายุไม่เกิน 120 วัน ให้ยกร่องสูง 20-30 ซม. และมีร่องระบายน้ำรอบแปลง หรือภายในแปลงนาห่างกัน 15-20 เมตร ควรมีความกว้าง 40-50 ซม. ลึก 20-30 ซม. ทำให้ดินร่วนซุยด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา 1-2 ตัน/ไร่ ไถคลุก-เคล้ากับดินและตากดินให้แห้ง 20-30 วัน ก่อนที่จะย่อยดิน กรณีเปลี่ยนสภาพพื้นที่จากนาข้าวเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่แบบถาวร ต้องสร้างคันดินรอบพื้นที่ปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝน ภายในพื้นที่ยกร่องปลูกแบบถาวร โดยให้สันร่องกว้าง 6-8 เมตร คูระบายน้ำกว้างประมาณ 1.5 เมตร ลึกประมาณ 1 เมตร บนสันร่องใหญ่อาจแบ่งซอยเป็นสันร่องย่อย โดยยกแปลงให้สูงขึ้นประมาณ 10-20 ซม. และกว้าง 1.5 - 2.0 เมตร เพื่อช่วยระบายน้ำบนสันร่องและเพื่อสะดวกในการเข้าไปดูแลกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยการใช้ปุ๋ย เคมี เช่น
          ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ใช้สูตร 0-46-0 หรือ สูตร0-40-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ หรือสูตร 0-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ โดยโรยปุ๋ย ก้นร่องหรือหว่านปุ๋ยที่แปลงพรวนดินกลบปุ๋ยก่อนปลูก
          อ้อย ใช้สูตร 16-8-8 อัตรา 70-90 กก./ไร่ หรือสูตร 20-10-10 อัตรา 50 กก./ไร่ สำหรับอ้อยปลูกใส่ครั้งเดียว พรวนกลบ เมื่ออ้อยอายุ 60-90 วัน ส่วนอ้อยตอ ใช้สูตร 10-5-5 อัตรา 40-50 กก./ไร่ ใส่ครั้งเดียวโรยข้างแถวแล้ว พรวนดินกลบ สำหรับปุ๋ยที่ใส่เพื่อแต่งตอ ใช้สูตร 15-10-10 อัตรา 100 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่หลังแต่งกอ และครั้งที่สองใส่หลังครั้งแรก 40-60 วัน
          ฝ้าย ใช้สูตร 21-0-0 อัตรา 20-30 กก./ไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ ใส่หรือปลูก 20-25 วัน โดยโรย ข้างแถวแล้วพรวนดิน ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น จัดทำคันดินรอบพื้นที่ ยกร่องตามความยาวพื้นที่ ขนาดกว้าง 6 เมตร สูง 80-100 ซม. ท้อง ร่องระหว่างร่องปลูกกว้าง 1.5-2.0 เมตร
ลึก 1 เมตร ร่องน้ำระหว่างสันร่องที่ปลูกพืชควรต่อเนื่องกับร่องรอบสวนที่อยู่ ติดกับคันดิน ป้องกันน้ำท่วม เตรียมหลุมปลูกขนาดกว้างxยาวxลึก ประมาณ 50-
100 ซม. แยกดินชั้นบนและล่างกองไว้ ปากหลุมทิ้งตากแดด 1-2 เดือนคลุกดินกับปุ๋ย อินทรีย์ อัตรา 10-20 กก./หลุม เป็นดินปลูก ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ปีละครั้ง อัตรา
10-30 กก./ไร่ ส่วนปุ๋ยเคมีขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ผลการใช้ปุ๋ยเคมี เช่น
           มะม่วง (ให้ผลแล้ว) ใช้ปุ๋ยสูตร 20-10-10 อัตรา 1.5-3.0 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 หลังเก็บเกี่ยวผล ผลิต ครั้งที่ 2 หลังตัดแต่งกิ่ง ครั้งที่ 3 ใส่ช่วงหลังติดผลแล้ว ส้ม (ที่ตกผลแล้ว) ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 2.0 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง
           ขนุน ใช้สูตร 15-15-15 หรือสูตร 13-13-21 อัตรา 2.0 กก./ต้น/ปี โรยปุ๋ยรอบโคนต้นรัศมีพุ่มใบ พรวนดิน พูนโคน กลบปุ๋ยต้นฤดูฝน
           พืชที่เหมาะสมกับชุดดิน     อ้อย , ฝ้าย , ส้มเขียวหวาน , ขนุน
กลุ่มชุดดินที่ 33
     
    ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนปนทรายแป้ง ดินมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนแดง บางแห่ง ในดินล่างลึก ๆ มีจุดประสีเทาและน้ำตาล อาจมีแร่ไมก้าหรือก้อนปูนปะปน เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ พบบนสันดินริมน้ำเก่าและเนินตะกอนรูปพัด มีพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชันประมาณ 2-12 % เป็นดินลึกมาก มีการระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง ระดับน้ำใต้ดินอยู่ลึกกว่า 1 เมตรตลอดปี มีความ อุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ดินชั้นบนมี pH ประมาณ 6.5-7.5 ได้แก่ชุดดินดงยางเอน ชุดดินกำแพงแสน ชุดดินกำแพงเพชร และชุดดินลำสนธิ ธาตุพนม
          ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : มีความเสี่ยงต่อการขาดน้ำได้ในบางปี
          ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช : กลุ่มชุดดินที่ 33 มีศักยภาพเหมาะสมในการปลูกพืชหลายชนิดทั้งพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล และทำนาข้าวซึ่งได้ใช้ประโยชน์ดังกล่าวนี้อยู่ในภาคต่าง ๆ ที่พบดินกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือกในการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมกับศักยภาพ
          การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 33
          ปลูกข้าวหรือทำนา ปัญหาดินขาดธาตุอาหารพืชบางอย่างหรือมีแต่ไม่เพียงพอ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อัตรา 1.5-2.0 ตัน/ไร่ ใส่ระยะการไถเตรียมดินก่อนปักดำข้าว หรือ อาจจะมีการปลูกพืชตระกูลถั่วพวกปอเทือง โสนอัฟริกาฯ เพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 5 กก./ไร่ หว่าน ก่อนถึงฤดูทำนาประมาณ 2-3 เดือน แล้วจึงไถกลบ การใส่ปุ๋ยเคมี ควรใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรก ใส่ก่อนปักดำ 1 วัน หรือ ใส่วันปักดำแล้วคราดกลบโดยใช้ปุ๋ย 16-20-0 หรือ 20-20-0 อัตรา 20 กก./ไร่ สำหรับข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสง และอัตรา 35 กก./ไร่ สำหรับข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง ครั้งที่สอง ใส่ก่อนระยะข้าวออกดอก
ประมาณ 30 วัน หรือ หลังจากปักดำแล้วประมาณ 30-45 วัน โดยหว่านให้ทั่วแปลงเป็นการใส่ปุ๋ยแต่งหน้าด้วยปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตอัตรา 15 กก./ไร่ หรือ ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 6 กก./ไร่ สำหรับข้าวพันธุ์ไวต่อแสงหรือใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 13 กก./ไร่ สำหรับข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง
          ปลูกพืชไร่ ปัญหาการระบายน้ำของดินเลว การเตรียมพื้นที่เพาะปลูก ในกรณีปลูกพืชไร่ในช่วงฤดูแล้งหรือหลังการเก็บเกี่ยวข้าวควรดำเนินการ ดังต่อไปนี้          ให้ทำร่องระบายน้ำรอบกระทงนาและทำร่องระบายในกระทงนาในกรณีที่กระทงนาใหญ่ ซึ่งห่างกันประมาณ 15-20 เมตรและร่องมีความกว้าง 40- 50 ซม.ลึกประมาณ 20-30 ซม. ซึ่งร่องที่กล่าวนี้จะช่วยระบายน้ำผิวดินและสะดวกในการให้น้ำและเข้าไปดูแลพืชที่ปลูก ปัญหาดินขาดธาตุอาหารพืชบางอย่าง และดินค่อนข้างไม่ร่วนซุย เช่น พืชตระกูลถั่ว ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เช่นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอัตรา 1-2 ตัน/ไร่ หว่านให้ทั่วแปลงแล้วไถกลบก่อน ปลูก 7-14 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 0-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ หรือสูตรอื่นที่มีธาตุอาหารพืชเท่าเทียมกัน ใส่รองก้นหลุมปลูกหรือโรยสองข้างแถวปลูกแล้วพรวน ดินกลบเมื่อถั่วอายุได้ 20-25 วัน
          ข้าวโพด และข้าวฟ่าง ใส่ปุ๋ยเคมีปฏิบัติเช่นเดียวกับกลุ่มชุดดินที่ 4
          ปลูกไม้ผล เตรียมหลุมปลูกขนาด 50 x 50 x 50 ซม. คลุกเคล้าด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 25-30 กก./หลุม
          พืชที่เหมาะสมกับชุดดิน    ถั่ว, ข้าวโพด, ข้าวฟ่าง, ลิ้นจี่
-  การคมนาคม
     
ตำบลนครหลวง มีการคมนาคมทางรถยนต์ที่สะดวกโดยมีถนนลาดยาง สานนครหลวง - ท่าเรือ และนครหลวง - ภาชี ผ่าน ตลอดทุกหมู่บ้าน ยกเว้นหมู่ 9 ซึ่งมีถนนลูกรังเข้าหมู่บ้านใช้ได้ตลอดทั้งป และภายในหมู่บ้านจะมีถนนลูกรังและถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้าน ซึ่งใช้ได้ตลอดทั้งปี ปัญหาในเรื่องการขนส่งปัจจัยการผลิตและผลผลิตจึงมีน้อยมาก
-  แหล่งน้ำ
       
แหล่งน้ำที่สำคัญและมีต่อกิจกรรมการเกษตรของตำบลนครหลวง ประกอบด้วย
     1.  แหล่งน้ำธรรมชาติ  ได้แก่ แม่น้ำป่าสัก ไหลผ่านระหว่างตำบลแม่ลาผ่านมาตำบลนครหลวงมาออกตำบลปากจั่น บึงบัว เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งอยู่ใน หมู่ 9 ตำบลนครหลวง ซึ่งบึงบัวนี้จะเขตติดต่อกับตำบลพระนอน ซึ่งจะมีน้ำใช้ได้ตลอดปี
     2.  แหล่งน้ำสร้างขึ้น ได้แก่ ชลประทาน ได้รับน้ำจากโครงการส่งน้ำนครหลวง โดยได้รับน้ำเต็มพื้นที่ในฤดูฝน ส่วนในฤดูแล้งชลประทานจะส่งน้ำให้
     3.  ระดับน้ำใต้ดิน ของตำบลนครหลวงอยู่ในระดับต่ำประมาณ 4 - 5 เมตร พืชไม่สามารถนำมาใช้ได้
   

Next