ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลพระนอน
ตั้งอยู่ที่ .............................
หมู่ที่ 4 ต.พระนอน  อ.นครหลวง  จ.พระนครศรีอยุธยา
พิกัด X : 677057  Y : 1603247




เจ้าหน้าที่รับผิดชอบศูนย์บริการฯ



นายวิวรรธน์  วิทยายนต์
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
โทร. 087-0860862
 

คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ

ประธานกรรมการบริหาร ศบกต.

นายเสนาะ  บัวบุตร
กำนัน ม.1 โทร. 081-7586823

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ 

กรรมการ 

นายสุนทร  พระครูถิ่น
ผู้ใหญ่บ้าน ม.6 โทร. 087-8235776
นางจินตนา  โพธิยานนท์
.....?.... โทร. ...............
นางปวีณา  หงส์โตสวัสดิ์
..........?...........
นางสาวพรทิพย์  แสงจินดา
..........?...........

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

นายสุรชาติ  ยุพจันทร์
..........?...........

นายประเสริฐ  หัสดางกรู
..........?...........

นายไพโรจน์  บรรจงศิริ
ผู้ใหญ่บ้าน ม.4 โทร. 086-8048470
นายสำเริง  สอนดี
ผู้ใหญ่บ้าน ม.7 โทร.086-9052317

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

นายวิชัย  พึ่งสุข
...........?.............

นางจำรัส  นิสะโสกะ
..........?...........
นายสังวาลย์  สุขอารมณ์
............?..........
นางสมหมาย  สุนทรสุข
...........?............

กรรมการ 

กรรมการและเลขานุการ 

กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

 

นายบุญเรือง  สอนดี
...........?.............
นายวิวรรธน์  วิทยายนต์
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
โทร. 087-0860862
นายพุฒิฎ์พงษ์  พุ่มประทุม
ผู้แทน ทศบต.อรัญญิก โทร. ?

 

ประวัติ/ความเป็นมาของตำบล

                 ตำบลพระนอน อำเภอนครหลวง จัดตั้งในปี พ.ศ. 2442 ชื่อของตำบลสันนิษฐานว่าเนื่องมาจากในอดีตมีพระธุดงค์เดินทางมาปักกลดปฏิบัติกรรมฐาน
บริเวณพื้นที่ หมู่ 3 ริมแม่น้ำป่าสัก เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกชื่อหมู่บ้านว่า บ้านพระนอน ต่อมาได้สร้างวัดขึ้น  เพื่อเป็นสถานที่ที่พระสงฆ์ธุดงค์มาได้จำวัด
ชื่อ วัดพระนอน เมื่อหมู่บ้านมีราษฎร์เข้ามาอาศัยมากขึ้น จึงได้ขยายจัดตั้งเป็นตำบลใช้ชื่อว่า ตำบลพระนอน

แผนที่ตำบล
 
อาณาเขตของตำบลพระนอน
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบ้านชุ้ง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลท่าช้าง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลแม่ลา
ข้อมูลของตำบล
   -  สภาพทั่วไป
             ตำบลพระนอน อยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอนครหลวง มีพื้นที่ทั้งหมด 13,381 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตร 10,951 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 85 ของพื้นที่ทั้งหมด
 
  หมู่ที่ 1 บ้านพระนอนไทย กำนัน นายเสนาะ  บัวบุตร เบอร์โทร. 081-7586823
  หมู่ที่ 2 บ้านพระนอนไทย ผู้ใหญ่บ้าน นายสมบัติ  นิลนพ เบอร์โทร. 086-5656564
  หมูที่ 3 บ้านพระนอนลาว ผู้ใหญ่บ้าน  นายพร  หัสฎางกูล เบอร์โทร. 089-1632501
  หมู่ที่ 4 บ้านท่าหาด ผู้ใหญ่บ้าน  นายไพโรจน์  บรรจงศิริ เบอร์โทร. 086-8048470
  หมู่ที่ 5 บ้านหัวคุ้งลาว ผู้ใหญ่บ้าน นายสัญชัย  สอนดี เบอร์โทร. 086-8008441
  หมู่ที่ 6 บ้านไร่ ผู้ใหญ่บ้าน นายสุนทร  พระครูถิ่น เบอร์โทร. 087-8235776
  หมู่ที่ 7 บ้านหัวคุ้งไทย ผู้ใหญ่บ้าน นายสำเริง  สอนดี เบอร์โทร. 086-9052314
   -  สภาพดิน
  กลุ่มชุดดินที่ 1
  ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด หน้าดินแตกระแหงเป็นร่องเล็กในฤดูร้อน สีดินส่วนมากเป็นสีดำหรือสีเทาแก่ ตลอดชั้นดิน อาจมีจุดประสีน้ำตาลหรือสีเหลืองปะปนอยู่บ้างในดินชั้นบน ส่วนดินชั้นล่างมักจะมีก้อนปูนปะปน เกิดจากต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำบริเวณเทือกเขาหินปูน หรือ หินภูเขาไฟ สภาพพื้นที่พบ ตามที่ราบลุ่มตั้งแต่ที่ราบน้ำท่วม ถึงตะพักลำน้ำระดับต่ำ มีน้ำแช่ขังในฤดูฝนลึก 30 - 40 ซม. นาน 3 - 4 เดือน ดินลึก มีความอุดมสมบูรณ์ ตามธรรมชาติ ปานกลางถึงสูง pH 6.5-8.0 ได้แก่ ชุดดินช่องแค ท่าเรือ โคกกระเทียม บ้านหมี่ ลพบุรี-ทำนาบุรีรัมย์-ทำนา บางเลน บ้านโพด และวัฒนา

ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ดินเหนียวจัดการไถพรวนลำบาก ดินแห้งจะแตกระแหงเป็นร่องลึกทำให้น้ำซึมหายได้ง่ายเมื่อฝนทิ้งช่วงนานกว่าปกติ ในช่วงฤดูฝนมีน้ำแช่ขัง

ความเหมาะสมสำหรับปลูกพืช : พื้นที่มีศักยภาพเหมาะสมทำนา ในฤดูฝนมีน้ำขัง 3-4 เดือน แต่สามารถปลูกพืชไร่ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว และผักต่าง ๆ ก่อนและหลังการปลูกข้าว ถ้ามีน้ำชลประทาน หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ

การจัดการกลุ่มชุดดิน 1
            ปลูกข้าวหรือทำนา เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน โดยการไถกลบตอซัง หลังการเก็บเกี่ยวข้าว

            การปลูกพืชตระกูลถั่ว ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วหมุนเวียนกับพืชไร่อย่างอื่น หรือการปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ปอเทือง โสน โสนอัฟริกัน ถั่วต่าง ๆ อัตราไร่ละ 5 กก./ไร่ หว่านทั่วแปลงแล้วไถกลบต้นลงดินก่อน ปลูกข้าว 2-3 เดือน การใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มความ อุดม สมบูรณ์ กรณีใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ให้ใช้อัตรา 2-3 ตัน/ไร่ ถ้าเป็นปุ๋ยเคมีสำหรับพันธุ์ข้าวไวแสง เช่น ขาวปากหม้อ 148 ขาวตาแห้ง 17 ปทุมธานี 60 ให้ใช้ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตร 16-20-0 หรือสูตร 18-22-0 อัตรา 25-30 กก./ไร่ ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยยูเรีย 5-10 กก./ไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 10-20 กก./ไร่ ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวไม่ไวแสง เช่น กข. 1-5 กข.7 กข.9 สุพรรณบุรี 60 ให้ใช้ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตร 16-20-0 หรือสูตร 18-22-0 อัตรา 25-35 กก./ไร่ ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยยูเรีย 10-15 กก./ไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 20-30 กก./ไร่

            ปลูกพืชไร่ กรณีปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าว หรือปลูกฤดูแล้ง พืชไร่ที่จะปลูกควรมีอายุไม่เกิน 120 วัน ให้ยกร่องสูง 20-30 ซม. และมีร่องระบายน้ำรอบแปลง หรือภายในแปลงนาห่างกัน 15-20 เมตร ควรมีความกว้าง 40-50 ซม. ลึก 20-30 ซม. ทำให้ดินร่วนซุยด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา 1-2 ตัน/ไร่ ไถคลุก-เคล้ากับดินและตากดินให้แห้ง 20-30 วัน ก่อนที่จะย่อยดิน กรณีเปลี่ยนสภาพพื้นที่จากนาข้าวเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่แบบถาวร ต้องสร้างคันดินรอบพื้นที่ปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝน ภายในพื้นที่ยกร่องปลูกแบบถาวร โดยให้สันร่องกว้าง 6-8 เมตร คูระบายน้ำกว้างประมาณ 1.5 เมตร ลึกประมาณ 1 เมตร บนสันร่องใหญ่อาจแบ่งซอยเป็นสันร่องย่อย โดยยกแปลงให้สูงขึ้นประมาณ 10-20 ซม. และกว้าง 1.5 - 2.0 เมตร เพื่อช่วยระบายน้ำบนสันร่องและเพื่อสะดวกในการเข้าไปดูแลกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยเคมี เช่น

                           ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ใช้สูตร 0-46-0 หรือ สูตร0-40-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ หรือสูตร 0-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ โดยโรยปุ๋ยก้นร่องหรือหว่านปุ๋ยที่แปลงพรวนดินกลบปุ๋ยก่อนปลูก

                           อ้อย ใช้สูตร 16-8-8 อัตรา 70-90 กก./ไร่ หรือสูตร 20-10-10 อัตรา 50 กก./ไร่ สำหรับอ้อยปลูกใส่ครั้งเดียว พรวนกลบ เมื่ออ้อยอายุ 60-90 วัน ส่วนอ้อยตอใช้สูตร 10-5-5 อัตรา 40-50 กก./ไร่ ใส่ครั้งเดียวโรยข้างแถวแล้ว พรวนดินกลบ สำหรับปุ๋ยที่ใส่เพื่อแต่งตอ ใช้สูตร 15-10-10 อัตรา 100 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่หลังแต่งกอ และครั้งที่สองใส่หลังครั้งแรก 40-60 วัน

                           มะม่วง (ให้ผลแล้ว) ใช้ปุ๋ยสูตร 20-10-10 อัตรา 1.5-3.0 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 หลังเก็บเกี่ยวผล ผลิต ครั้งที่ 2 หลังตัดแต่งกิ่ง ครั้งที่ 3 ใส่ช่วงหลังติดผลแล้ว ส้ม (ที่ตกผลแล้ว) ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 2.0 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง

                           ขนุน ใช้สูตร 15-15-15 หรือสูตร 13-13-21 อัตรา 2.0 กก./ต้น/ปี โรยปุ๋ยรอบโคนต้นรัศมีพุ่มใบ พรวนดิน พูนโคน กลบปุ๋ยต้นฤดูฝน

  กลุ่มชุดดินที่ 3f
               ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว ดินบนเป็นสีเทาเข้ม สีน้ำตาลปนเทาเข้ม ดินล่าง เป็นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน มีจุดประสีน้ำตาลแก่
สีน้ำตาลปนเหลือง สีแดงปนเหลือง พบตามที่ ราบลุ่มหรือที่ราบเรียบ เป็นดินลึก มีการระบายน้ำเลว ฤดูฝนขังน้ำลึก 20-50 ซม. นาน 4-5 เดือน ฤดูแล้งดินแห้ง
แตกระแหงเป็นร่องกว้างลึก ถ้าพบบริเวณชายฝั่งทะเล มักมีเปลือกหอยอยู่ในดินชั้นล่าง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง มีปฏิกิริยาดินเป็นกรด
ปานกลางถ้าเป็นกรดเล็กน้อย มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างปริมาณ 5.5-6.5 ส่วนดินชั้นล่างหากมีเปลือกหอยปะปน จะมีปฏิกิริยาเป็นด่างอ่อนหรือมีค่าความเป็นด่าง
ประมาณ 7.5-8.0 ได้แก่ชุดดินสมุทรปราการ บางกอก ฉะเชิงเทรา พิมาย บางแพ และสิงห์บุรี ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ทำนา หรือยกร่องปลูกพืชผัก
และไม้ผล ซึ่งไม่ค่อยจะมี ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ถ้าเป็นที่ลุ่มมาก ๆ จะมีปัญหาเรื่องน้ำท่วมในฤดูฝน

             ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช : ในสภาพปัจจุบันสภาพพื้นที่มีศักยภาพเหมาะสมในการทำนา เนื่องจากสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงเกือบ
ราบเรียบ เนื้อดินเป็นดินเหนียว การระบายน้ำเลว ในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำขังที่ผิวดินนาน 4-5 เดือน แต่สามารถปลูกพืชไร่และพืชผักบางชนิดได้ในช่วงฤดูแล้งหลัง
การเก็บเกี่ยวข้าวแล้วไม่เหมาะที่จะปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น เพราะมีน้ำท่วมขังลึกในฤดูฝน อย่างไรก็ตามสามารถเปลี่ยนสภาพการใช้ประโยชน์จากนาข้าวเป็นปลูก
พืชไร่ ไม้ผล และพืชผักได้ ถ้าได้มีการพัฒนาที่ดิน โดยการทำคันดินรอบพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมและยกร่องปลูกเพื่อช่วยการระบายน้ำของดิน

             การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 3
             ปลูกข้าวหรือทำนา เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินปฏิบัติเหมือนกลุ่มชุดดินที่ 1 และแก้ไขเนื้อดินเหนียว โดยหว่านปุ๋ยอินทรีย์ ก่อนปลูกข้าว
ทั่วแปลงอัตรา 1.5-2.0 ตัน/ไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีกับพันธุ์ข้าวไวแสงและพันธุ์ข้าวไม่ไวแสง ใช้ปุ๋ยสูตร และอัตราเดียวกับที่ปฏิบัติในกลุ่มชุดดินที่ 1

             ปลูกพืชไร่ กรณีทำการปลูกในช่วงฤดูแล้งหรือกรณีเปลี่ยนพื้นที่นาเป็นพื้นที่ทำไร่ถาวรให้ยกร่องปลูก และทำร่องรอบกระทงนา เพื่อระบายน้ำออก
ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1.5 - 2.0 ตัน/ไร่ การยกร่องและการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการปลูกพืชไร่ ในกลุ่มชุดดินที่ 2 การใช้ปุ๋ยเคมี เช่น ข้าวโพด
ข้าวฟ่าง ใช้สูตร 20-20-0 กรณีดินมีฟอสฟอรัสต่ำ อัตรา 25 กก./ไร่ ใส่รองก้นหลุมทั้งหมดหรือใส่ข้างแถวแล้วพรวนดินกลบโคน เมื่ออายุ 25-30 วัน
ถ้าดินมีฟอสฟอรัสสูง ใส่สูตร 21-0-0 อัตรา 40-60 กก./ไร่

             พืชตระกูลถั่ว ใส่สูตร 0-46-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ ตอนปลูกหรือหลังปลูก 20-25 วัน

             อ้อย สำหรับอ้อยปลูกใส่สูตร 20-10-10 อัตรา 50 กก./ไร่ ใส่ครั้งเดียว เมื่ออายุ 30-60 วัน สำหรับอ้อยตอ ใช้สูตร 10-5-5 อัตรา 40-50 กก./ไร่
ใส่ครั้งเดียว

             ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น เตรียมพื้นที่ปลูกเพื่อแก้ปัญหาการระบายน้ำของดินและน้ำท่วมขัง ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเตรียมพื้นที่ปลูก
พืชไร่ที่ได้กล่าวมาแล้ว

             มะม่วง ส้มเขียวหวาน ใช้สูตร 15-15-15 ต้นอายุ 1-2 ปี ใส่ 1 กก./ต้น/ปี ต้นอายุ 3 ปี ใส่ 1.5 กก./ต้น/ปี ต้นอายุ 5 ปี ใส่ 2.5 กก./ต้น/ปี
โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง

             มะพร้าว อายุ 1-2 ปี ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 กก./ต้น/ปี อายุ 3-6 ปี ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 2-3 กก./ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี

             ส้มโอ ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่ 2 ครั้ง/ปี ดังนี้ อายุ 1 ปี ใช้อัตรา 1 กก./ต้น อายุ 2 ปี ใช้อัตรา 2 กก./ต้น อายุ 3 ปี ใช้อัตรา 3 กก./ต้น อายุ 4 ปี
ใช้อัตรา 4 กก./ต้น อายุ 5 ปี ใช้อัตรา 5 กก./ต้น

             พืชที่เหมาะสมกับชุดดิน   ถั่ว, อ้อย, ฝ้าย, ส้มเขียวหวาน, มะพร้าว, ส้มโอ, ปาล์น้ำมัน, ข้าวฟ่าง

   -  การคมนาคม
           เส้นทางคมนาคมที่จะไปตำบลพระนอนมีอยู่ 3 เส้นทาง คือ เริ่มต้นจากอำเภอนครหลวง
                  -  เส้นทางเรียบฝั่งด้านขวาของแม่น้ำป่าสัก ซึ่งเป็นถนนลูกรัง แต่สามารถที่จะใช้ได้ตลอดปี มีความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร  ถึง หมู่ 1 พระนอน
                  -  เส้นทางริมฝั่งแม่น้ำป่าสักทางด้านซ้าย เป็นเส้นทางลาดยางสามารถใช้ได้ตลอดปี มีความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร ซึ่งเริ่มจากอำเภอนครหลวง
                  -  เส้นทางที่ออกไปยังบ้านชุ้ง ทางลาดยางซึ่งจะอ้อม แต่ถ้ามาจากอำเภอภาชี เลี้ยวขวาตำบลบ้านชุ้งแล้วสามารถผ่านไปยังหมู่ 6ได้ และทะลุออกไป
ยัง หมู่ 5 และหมู่ 3 ได้ ดังนั้นเส้นทางคมนาคมของตำบลพระนอน จึงมีอยู่หลายเส้นทางด้วยกัน
  -  แหล่งน้ำ
           มีแหล่งน้ำบริโภค - อุปโภคและใช้ในการเกษตร คือ
                    1.  แม่น้ำป่าสักไหลผ่านทั้งตำบล
                    2.  อยู่ในเขตชลประทานทั้งตำบล
                    3.  มีบึงเก็บน้ำ 1 แห่ง คือ บึงบัว
                    4.  ประปาหมู่บ้าน หมู่ที่ 1,  2,  3,  5,  6,  7
                    5.  บ่อบาดาล จำนวน 8 แห่ง
                    6.  ฝ. 30,33 จำนวน 2 แห่ง หมู่ 2
 

         Next