Picture service Center
  เจ้าหน้าที่รับผิดชอบศูนย์บริการฯ  
 


นายวิวรรธน์  วิทยายนต์
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
โทร. 087-0860862

 

ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลสามไถ ตั้งอยู่ที่ สภาตำบลเก่า หมู่ที่ 2 ต.สามไถ  
อ.นครหลวง  จ.พระนครศรีอยุธยา

คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ

ประธานกรรมการบริหาร ศบกต.

นายสมคิด  พระนอนเขตต์
กำนันตำบลสามไถ   โทร. 086-0440276

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ 

กรรมการ 

นายสมบัติ  เนื่องอัมพร
ผู้แทนหมู่บ้าน
นายธวัชชัย  ไพรเขียว
..........?..........
นางจำรุญ  อุบลพูล
...........?..........
นายสุชิน  สกุลทอง
...........?..........

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

นายสังวาล  พระพรหม
............?............

นางสำเนียง  ชูแก้ว
..............?..............

นายสุชาติ  ตันนิมิตกุล
...........?.............
นางรากรี  ภู่พิมพ์
............?.............

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

นายสุรพงศ์  ชูแก้ว
.............?.............
นายทวีสิน  ทองสกุล
............?...........
นางยุพา  กันเกตุ
..........?.........
นางธนัชชา  พระนอนเขตต์
.............?...........

กรรมการ 

กรรมการและเลขานุการ 

กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

 

นางสาวพัชรินทร์  อรรถบท
...........?............
นายวิวรรธน์  วิทยายนต์
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
โทร. 087-0860862
นายพุฒิพงศ์  พุ่มประทุม
ผู้แทน อบต.แม่ลา โทร. ?

 

ประวัติ/ความเป็นมาของตำบล

หมู่ที่ 1 ชื่อว่าบ้านตำหรุ ในยุคนั้นข้าวต้องสีกันเอง และซ้อมข้าวกันเอง คนสมัยนั้นทำอะไรต้องทำเป็นกลุ่ม โดยเอื้ออาทรช่วยเหลือเอาแรงกัน เวลาซ้อมข้าวจึงมารวมกัน ณ ที่หมู่บ้านแห่งนี้ คือ ซ้อมข้าวหรือตำข้าว ต้องมีครกใหญ่ เมื่อตำข้าวทุกวันหรือบ่อย ๆ ครกจึงหลุ ภาษาโบราณ ว่าหรุชุมชนแห่งนั้นนามว่า บ้านตำหรุ (แปลว่า ตำข้าวจนครกหลุ)

 

หมู่ที่ 2 ชื่อว่าหมู่บ้านสันเจ้า ประชาชนในยุคนั้นก่อนจะทำอะไร ต้องบวงสรวงขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายเพื่อเป็นศิริมงคลของตัวเอง และหมู่บ้าน จึงได้ร่วมกันจัดตั้งศาลเจ้า บนสันเนินดินแห่งหนึ่งในชุมชน หรือศาลเจ้าบนสันดินชุมชนแห่งหนึ่งขนานนามว่า ชุมชนบ้านสันเจ้า (ซึ่งแปลว่า ศาลเจ้าที่ตั้งบนสันดิน)

 

หมู่ที่ 3 ชื่อหมู่บ้านท้ายวัด เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ท้ายวัด ดงหวาย ทางทิศตะวันออกของวัด ซึ่งแห่งนี้เวลาจะไปทำบุญที่วัดดงหวาย ต้องไปที่หลัง           หรือสุดท้ายทุกครั้ง จึงได้ขนานนามว่า หมู่บ้านท้ายวัด (แปลว่าชุมชน ไปวัดทำบุญเป็นคนสุดท้าย)

 

 หมู่ที่ 4 ชื่อบ้านตะโกเก่า ในยุคนั้นประชาชนจะทำอะไรที่เป็นมงคล ต้องบวงสรวงเซ่นไหว้เทพยุดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เพื่อเป็นศิริมงคล           ชุมชนนี้มีต้นตะโกใหญ่มากที่เก่าแก่มานาน จึงได้พากันไปที่ต้นตะโกแห่งนี้ ขนานนามว่า ชุมชนบ้านตะโกเก่า (แปลว่า มีต้นตะโกเก่าแก่และใหญ่มาก)

แผนที่ตำบล
 
อาณาเขตของตำบลสามไถ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอท่าเรือ
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบบ้านชุ้ง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอภาชี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลพระนอน
ข้อมูลของตำบล
   -  สภาพทั่วไป
  ตำบลสามไถ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอนครหลวง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 หมู่บ้าน ได้แก่
 
  หมู่ที่ 1 บ้านตำหรุ กำนัน .................................. เบอร์โทร. ......................
  หมูที่ 2 บ้านสันเจ้า ผู้ใหญ่บ้าน  นางสาวนันทวรรณ  บุญประเสริฐ เบอร์โทร. 087-6666798
  หมู่ที่ 3 บ้านท้ายวัด ผู้ใหญ่บ้าน  นายไพโรจน์  พิชัยกรศิลป์ เบอร์โทร. 081- 3737518
  หมู่ที่ 4 บ้านตะโกเก่า ผู้ใหญ่บ้าน นายสมชาย พระนอนเขตต์ เบอร์โทร. 095-2513274
   -  สภาพดิน
  กลุ่มชุดดินที่ 1
  ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด หน้าดินแตกระแหงเป็นร่องเล็กในฤดูร้อน สีดินส่วนมากเป็นสีดำหรือสีเทาแก่ ตลอดชั้นดิน อาจมีจุดประสีน้ำตาลหรือสีเหลืองปะปนอยู่บ้างในดินชั้นบน ส่วนดินชั้นล่างมักจะมีก้อนปูนปะปน เกิดจากต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำบริเวณเทือกเขาหินปูน หรือ            หินภูเขาไฟ สภาพพื้นที่พบ ตามที่ราบลุ่มตั้งแต่ที่ราบน้ำท่วม ถึงตะพักลำน้ำระดับต่ำ มีน้ำแช่ขังในฤดูฝนลึก 30 - 40 ซม. นาน 3 - 4 เดือน ดินลึก มีความอุดมสมบูรณ์ ตามธรรมชาติ ปานกลางถึงสูง pH 6.5-8.0 ได้แก่ ชุดดินช่องแค ท่าเรือ โคกกระเทียม บ้านหมี่ ลพบุรี-ทำนาบุรีรัมย์-ทำนา บางเลน บ้านโพด และวัฒนา

ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ดินเหนียวจัดการไถพรวนลำบาก ดินแห้งจะแตกระแหงเป็นร่องลึกทำให้น้ำซึมหายได้ง่ายเมื่อฝนทิ้งช่วงนานกว่าปกติ ในช่วงฤดูฝนมีน้ำแช่ขัง

ความเหมาะสมสำหรับปลูกพืช : พื้นที่มีศักยภาพเหมาะสมทำนา ในฤดูฝนมีน้ำขัง 3-4 เดือน แต่สามารถปลูกพืชไร่ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว และผักต่าง ๆ ก่อนและหลังการปลูกข้าว ถ้ามีน้ำชลประทาน หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ

การจัดการกลุ่มชุดดิน 1
            ปลูกข้าวหรือทำนา เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน โดยการไถกลบตอซัง หลังการเก็บเกี่ยวข้าว

            การปลูกพืชตระกูลถั่ว ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วหมุนเวียนกับพืชไร่อย่างอื่น หรือการปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ปอเทือง โสน โสนอัฟริกัน ถั่วต่าง ๆ อัตราไร่ละ 5 กก./ไร่ หว่านทั่วแปลงแล้วไถกลบต้นลงดินก่อน ปลูกข้าว 2-3 เดือน การใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มความ อุดม สมบูรณ์ กรณีใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ให้ใช้อัตรา 2-3 ตัน/ไร่ ถ้าเป็นปุ๋ยเคมีสำหรับพันธุ์ข้าวไวแสง เช่น ขาวปากหม้อ 148 ขาวตาแห้ง 17 ปทุมธานี 60 ให้ใช้ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตร 16-20-0 หรือสูตร 18-22-0 อัตรา 25-30 กก./ไร่ ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยยูเรีย 5-10 กก./ไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 10-20 กก./ไร่ ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวไม่ไวแสง เช่น กข. 1-5 กข.7 กข.9 สุพรรณบุรี 60 ให้ใช้ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตร 16-20-0 หรือสูตร 18-22-0 อัตรา 25-35 กก./ไร่ ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยยูเรีย 10-15 กก./ไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 20-30 กก./ไร่

            ปลูกพืชไร่ กรณีปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าว หรือปลูกฤดูแล้ง พืชไร่ที่จะปลูกควรมีอายุไม่เกิน 120 วัน ให้ยกร่องสูง 20-30 ซม. และมีร่องระบายน้ำรอบแปลง หรือภายในแปลงนาห่างกัน 15-20 เมตร ควรมีความกว้าง 40-50 ซม. ลึก 20-30 ซม. ทำให้ดินร่วนซุยด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา 1-2 ตัน/ไร่ ไถคลุก-เคล้ากับดินและตากดินให้แห้ง 20-30 วัน ก่อนที่จะย่อยดิน กรณีเปลี่ยนสภาพพื้นที่จากนาข้าวเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่แบบถาวร ต้องสร้างคันดินรอบพื้นที่ปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝน ภายในพื้นที่ยกร่องปลูกแบบถาวร โดยให้สันร่องกว้าง 6-8 เมตร คูระบายน้ำกว้างประมาณ 1.5 เมตร ลึกประมาณ 1 เมตร บนสันร่องใหญ่อาจแบ่งซอยเป็นสันร่องย่อย โดยยกแปลงให้สูงขึ้นประมาณ 10-20 ซม. และกว้าง 1.5 - 2.0 เมตร เพื่อช่วยระบายน้ำบนสันร่องและเพื่อสะดวกในการเข้าไปดูแลกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยเคมี เช่น

                           ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ใช้สูตร 0-46-0 หรือ สูตร0-40-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ หรือสูตร 0-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ โดยโรยปุ๋ยก้นร่องหรือหว่านปุ๋ยที่แปลงพรวนดินกลบปุ๋ยก่อนปลูก

                           อ้อย ใช้สูตร 16-8-8 อัตรา 70-90 กก./ไร่ หรือสูตร 20-10-10 อัตรา 50 กก./ไร่ สำหรับอ้อยปลูกใส่ครั้งเดียว พรวนกลบ เมื่ออ้อยอายุ 60-90 วัน ส่วนอ้อยตอ ใช้สูตร 10-5-5 อัตรา 40-50 กก./ไร่ ใส่ครั้งเดียวโรยข้างแถวแล้ว พรวนดินกลบ สำหรับปุ๋ยที่ใส่เพื่อแต่งตอ ใช้สูตร 15-10-10 อัตรา 100 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่หลังแต่งกอ และครั้งที่สองใส่หลังครั้งแรก 40-60 วัน

                           มะม่วง (ให้ผลแล้ว) ใช้ปุ๋ยสูตร 20-10-10 อัตรา 1.5-3.0 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 หลังเก็บเกี่ยวผล ผลิต ครั้งที่ 2 หลังตัดแต่งกิ่ง ครั้งที่ 3 ใส่ช่วงหลังติดผลแล้ว ส้ม (ที่ตกผลแล้ว) ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 2.0 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง

                           ขนุน ใช้สูตร 15-15-15 หรือสูตร 13-13-21 อัตรา 2.0 กก./ต้น/ปี โรยปุ๋ยรอบโคนต้นรัศมีพุ่มใบ พรวนดิน พูนโคน กลบปุ๋ยต้นฤดูฝน

 

 -  การคมนาคม

 
            ตำบลสามไถมีการคมนาคมได้ 2 ทาง คือ ทางบกและทางน้ำ ทางบกโดยมีถนนจากอำเภอนครหลวงผ่านไปยังอำเภอท่าเรือซึ่งเป็นถนนลาดยางและถนนสายวัดดงหวาย - อยุธยา เลียบฝั่งแม่น้ำทางด้านซ้ายของแม่น้ำ ทางน้ำ ใช้เรือเป็นพาหนะในแม่น้ำป่าสัก
  -  แหล่งน้ำ
             แหล่งน้ำที่ใช้ในการอุปโภค - บริโภค เพื่อการเกษตรในตำบลสามไถนั้น อาศัยน้ำฝนและน้ำจากแม่น้ำป่าสัก 1 สาย คลองธรรมชาติ คลองชลประทาน 2 คลอง คือ คลอง 1 ขวา และคลอง 24 ขวา แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น สามารถใช้อุปโภค บริโภค ได้แก่ ประปาหมู่บ้าน 4 แห่ง
 

         Next



*
*
*
*