Picture 0...

ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลท่าช้าง
ตั้งอยู่ที่ทำการ ทศบต.อรัญญิก
หมู่ที่ 8 ต.ท่าช้าง  อ.นครหลวง  จ.พระนครศรีอยุธยา
พิกัด X : 677127  Y : 1604803




เจ้าหน้าที่รับผิดชอบศูนย์บริการฯ



นางสาวชญาณิศา  เปรมสุข
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
โทร. 085-1662245
 
 

คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ

ประธานกรรมการบริหาร ศบกต.

นายสำเริง  แช่มโสภา
.................?................

กรรมการ

กรรมการ

กรรมการ 

กรรมการ 

นายทองย้อย  ศิรินาค
..........?...........
นายณรงค์  ภู่รัตน์
..........?...........
นายสวาท  เวชทับ
..........?...........
นางกระมล  อนุสุข
............?................

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

นายทองเจือ  ชาญชัยศรี
...................?.................

นายอยุธยา  โฉมวิไล
............?.............

นายพยศ  จงศิริ
...........?.............
นายสืบพงษ์  ศรพรหม
กำนัน ม.6 โทร. 089-9890902

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

กรรมการ 

นางจิราภรณ์  แจ่มสุวรรณ
...........?.............

นายบุญเลิศ  พจน์ด้วง
..........?...........
นางฐิติพร  รอดพาล
............?..........
นายวิทยา  พระพรหม
ผู้ใหญ่บ้าน ม.4 โทร. 089-9890902

กรรมการ 

กรรมการและเลขานุการ 

กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

 

นายสยาม  นพเก้า
...........?.............
นางสาวชญาณิศา  เปรมสุสข
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
โทร. 085-1662245
นายพุฒิฎ์พงศ์  พุ่มประทุม
ผู้แทน ทศบต.อรัญญิก โทร. ?

 

ประวัติ/ความเป็นมาของตำบล

                   ประวัติของตำบลท่าช้าง  มีมาแต่ช้านานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา   ซึ่งถูกพม่าปิดล้อมในสมัยพระเจ้าเอกทัศน์  ไม่ให้สู้รบกับพม่า   จึงมีการตีมีด
เพื่อที่จะสู้กับพม่าในสมัยนั้น ดังนั้นตำบลท่าช้างจึงมีการตีมีด ตั้งแต่สมัยนั้น จึงมีชื่อเรื่องทางด้านมีดอรัญญิกจนสมัยปัจจุบัน พื้นเพดั้งเดิมของหมู่บ้าน ราษฎรใน
ตำบลท่าช้างเป็นคนในพื้นเพดั้งเดิม ไม่มีการอพยพจากที่อื่น แต่ประการใด ราษฎรในตำบลท่าช้างจึงสืบทอดตระกูลมาตั้งแต่บรรพบุรุษมาช้านาน การตั้งถิ่นฐาน
ของชาวบ้าน มีการตั้งแต่เมื่อไรไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่ทางผู้เขียนคิดว่าถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวบ้านจะไม่มีการอพยพแน่นอนดังจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์ของ
การตีมีดอรัญญิกจึงมีมาช้านานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา   เหตุการณ์ในอดีตที่มีผลต่อการประกอบอาชีพของคนในปัจจุบัน มีเพราะจากการที่บรรพ-บุรุษได้มีการ
ตีมีดเพื่อรบกับพม่า จึงส่งผลให้มีการตีมีดมาถึงปัจจุบัน และเป็นอาชีพของราษฎรในตำบลท่าช้างมาจนถึงปัจจุบัน และสามารถเป็นรายได้และเป็นอาชีพหลักให้แก่
ราษฎรในหมู่ 5, 6 เป็นหลักและยังได้กระจัดกระจายไปตามหมู่ต่าง ๆ อีกด้วย

แผนที่ตำบล
 
อาณาเขตของตำบลท่าช้าง
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อ.ดอนพุด จ.สระบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลสามไถ และตำบลพระนอน อ.นครหลวง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอท่าเรือ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลพระนอน อ.นครหลวง
ข้อมูลของตำบล
   -  สภาพทั่วไป
             ตำบลท่าช้าง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของอำเภอนครหลวง ซึ่งแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 ตำบล คือ บ่อโพง คลองสะแก ปากจั่น
หนองปลิง บ้านชุ้ง นครหลวง สามไถ ท่าช้าง พระนอน แม่ลา บางพระครู บางระกำ
 
  หมู่ที่ 1 บ้านกุฎีกรุ ผู้ใหญ่บ้าน  นายมานะ  แก้วกนึก เบอร์โทร. 089-0821782
  หมู่ที่ 2 บ้านท่าช้างใต้ ผู้ใหญ่บ้าน  นายทองเจือ  ชาญชัยศรี เบอร์โทร. 089-8827475
  หมูที่ 3 บ้านท่าช้าง ผู้ใหญ่บ้าน  นายสายันต์  ปิ่นรัตน์ เบอร์โทร. 086-0027661
  หมู่ที่ 4 บ้านท่าช้างเหนือ ผู้ใหญ่บ้าน  นายวิทยา  พระพรหม เบอร์โทร. 089-9890902
  หมู่ที่ 5 บ้านหัวไร่ ผู้ใหญ่บ้าน ? เบอร์โทร. ?
  หมู่ที่ 6 บ้านต้นโพธิ์ กำนัน นายสืบพงษ์  ศรพรหม เบอร์โทร. 081-7351885
  หมู่ที่ 7 บ้านไผ่หนอง ผู้ใหญ่บ้าน  นายอยุธยา  โฉมวิไล เบอร์โทร. 087-9403177
  หมู่ที่ 8 บ้านท่าช้างไห้ ผู้ใหญ่บ้าน  นายทองย้อย  ศิรินาค เบอร์โทร. 089-5437798
   -  สภาพดิน
  กลุ่มชุดดินที่ 1
  ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด หน้าดินแตกระแหงเป็นร่องเล็กในฤดูร้อน สีดินส่วนมากเป็นสีดำหรือสีเทาแก่ ตลอดชั้นดิน อาจมีจุดประสีน้ำตาลหรือสีเหลืองปะปนอยู่บ้างในดินชั้นบน ส่วนดินชั้นล่างมักจะมีก้อนปูนปะปน เกิดจากต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำบริเวณเทือกเขาหินปูน หรือ หินภูเขาไฟ สภาพพื้นที่พบ ตามที่ราบลุ่มตั้งแต่ที่ราบน้ำท่วม ถึงตะพักลำน้ำระดับต่ำ มีน้ำแช่ขังในฤดูฝนลึก 30 - 40 ซม. นาน 3 - 4 เดือน ดินลึก มีความอุดมสมบูรณ์ ตามธรรมชาติ ปานกลางถึงสูง pH 6.5-8.0 ได้แก่ ชุดดินช่องแค ท่าเรือ โคกกระเทียม บ้านหมี่ ลพบุรี-ทำนาบุรีรัมย์-ทำนา บางเลน บ้านโพด และวัฒนา

ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ดินเหนียวจัดการไถพรวนลำบาก ดินแห้งจะแตกระแหงเป็นร่องลึกทำให้น้ำซึมหายได้ง่ายเมื่อฝนทิ้งช่วงนานกว่าปกติ ในช่วงฤดูฝนมีน้ำแช่ขัง

ความเหมาะสมสำหรับปลูกพืช : พื้นที่มีศักยภาพเหมาะสมทำนา ในฤดูฝนมีน้ำขัง 3-4 เดือน แต่สามารถปลูกพืชไร่ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียว และผักต่าง ๆ ก่อนและหลังการปลูกข้าว ถ้ามีน้ำชลประทาน หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ

การจัดการกลุ่มชุดดิน 1
            ปลูกข้าวหรือทำนา เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน โดยการไถกลบตอซัง หลังการเก็บเกี่ยวข้าว

            การปลูกพืชตระกูลถั่ว ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วหมุนเวียนกับพืชไร่อย่างอื่น หรือการปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ปอเทือง โสน โสนอัฟริกัน ถั่วต่าง ๆ อัตราไร่ละ 5 กก./ไร่ หว่านทั่วแปลงแล้วไถกลบต้นลงดินก่อน ปลูกข้าว 2-3 เดือน การใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มความ อุดม สมบูรณ์ กรณีใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ให้ใช้อัตรา 2-3 ตัน/ไร่ ถ้าเป็นปุ๋ยเคมีสำหรับพันธุ์ข้าวไวแสง เช่น ขาวปากหม้อ 148 ขาวตาแห้ง 17 ปทุมธานี 60 ให้ใช้ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตร 16-20-0 หรือสูตร 18-22-0 อัตรา 25-30 กก./ไร่ ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยยูเรีย 5-10 กก./ไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 10-20 กก./ไร่ ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวไม่ไวแสง เช่น กข. 1-5 กข.7 กข.9 สุพรรณบุรี 60 ให้ใช้ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตร 16-20-0 หรือสูตร 18-22-0 อัตรา 25-35 กก./ไร่ ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยยูเรีย 10-15 กก./ไร่ หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 20-30 กก./ไร่

            ปลูกพืชไร่ กรณีปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าว หรือปลูกฤดูแล้ง พืชไร่ที่จะปลูกควรมีอายุไม่เกิน 120 วัน ให้ยกร่องสูง 20-30 ซม. และมีร่องระบายน้ำรอบแปลง หรือภายในแปลงนาห่างกัน 15-20 เมตร ควรมีความกว้าง 40-50 ซม. ลึก 20-30 ซม. ทำให้ดินร่วนซุยด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา 1-2 ตัน/ไร่ ไถคลุก-เคล้ากับดินและตากดินให้แห้ง 20-30 วัน ก่อนที่จะย่อยดิน กรณีเปลี่ยนสภาพพื้นที่จากนาข้าวเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่แบบถาวร ต้องสร้างคันดินรอบพื้นที่ปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝน ภายในพื้นที่ยกร่องปลูกแบบถาวร โดยให้สันร่องกว้าง 6-8 เมตร คูระบายน้ำกว้างประมาณ 1.5 เมตร ลึกประมาณ 1 เมตร บนสันร่องใหญ่อาจแบ่งซอยเป็นสันร่องย่อย โดยยกแปลงให้สูงขึ้นประมาณ 10-20 ซม. และกว้าง 1.5 - 2.0 เมตร เพื่อช่วยระบายน้ำบนสันร่องและเพื่อสะดวกในการเข้าไปดูแลกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยเคมี เช่น

                           ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ใช้สูตร 0-46-0 หรือ สูตร0-40-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ หรือสูตร 0-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ โดยโรยปุ๋ยก้นร่องหรือหว่านปุ๋ยที่แปลงพรวนดินกลบปุ๋ยก่อนปลูก

                           อ้อย ใช้สูตร 16-8-8 อัตรา 70-90 กก./ไร่ หรือสูตร 20-10-10 อัตรา 50 กก./ไร่ สำหรับอ้อยปลูกใส่ครั้งเดียว พรวนกลบ เมื่ออ้อยอายุ 60-90 วัน ส่วนอ้อยตอใช้สูตร 10-5-5 อัตรา 40-50 กก./ไร่ ใส่ครั้งเดียวโรยข้างแถวแล้ว พรวนดินกลบ สำหรับปุ๋ยที่ใส่เพื่อแต่งตอ ใช้สูตร 15-10-10 อัตรา 100 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่หลังแต่งกอ และครั้งที่สองใส่หลังครั้งแรก 40-60 วัน

                           มะม่วง (ให้ผลแล้ว) ใช้ปุ๋ยสูตร 20-10-10 อัตรา 1.5-3.0 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 หลังเก็บเกี่ยวผล ผลิต ครั้งที่ 2 หลังตัดแต่งกิ่ง ครั้งที่ 3 ใส่ช่วงหลังติดผลแล้ว ส้ม (ที่ตกผลแล้ว) ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 2.0 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง

                           ขนุน ใช้สูตร 15-15-15 หรือสูตร 13-13-21 อัตรา 2.0 กก./ต้น/ปี โรยปุ๋ยรอบโคนต้นรัศมีพุ่มใบ พรวนดิน พูนโคน กลบปุ๋ยต้นฤดูฝน

  กลุ่มชุดดินที่ 3f
                  ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว ดินบนเป็นสีเทาเข้ม สีน้ำตาลปนเทาเข้ม ดินล่าง เป็นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน มีจุดประสีน้ำตาลแก่
สีน้ำตาลปนเหลือง สีแดงปนเหลือง พบตามที่ ราบลุ่มหรือที่ราบเรียบ เป็นดินลึก มีการระบายน้ำเลว ฤดูฝนขังน้ำลึก 20-50 ซม. นาน 4-5 เดือน ฤดูแล้งดินแห้ง
แตกระแหงเป็นร่องกว้างลึก ถ้าพบบริเวณชายฝั่งทะเล มักมีเปลือกหอยอยู่ในดินชั้นล่าง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง มีปฏิกิริยาดินเป็นกรด
ปานกลางถ้าเป็นกรดเล็กน้อย มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างปริมาณ 5.5-6.5 ส่วนดินชั้นล่างหากมีเปลือกหอยปะปน จะมีปฏิกิริยาเป็นด่างอ่อนหรือมีค่าความเป็นด่าง
ประมาณ 7.5-8.0 ได้แก่ชุดดินสมุทรปราการ บางกอก ฉะเชิงเทรา พิมาย บางแพ และสิงห์บุรี ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ทำนา หรือยกร่องปลูกพืชผัก
และไม้ผล ซึ่งไม่ค่อยจะมี ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ถ้าเป็นที่ลุ่มมาก ๆ จะมีปัญหาเรื่องน้ำท่วมในฤดูฝน

             ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช : ในสภาพปัจจุบันสภาพพื้นที่มีศักยภาพเหมาะสมในการทำนา เนื่องจากสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงเกือบ
ราบเรียบ เนื้อดินเป็นดินเหนียว การระบายน้ำเลว ในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำขังที่ผิวดินนาน 4-5 เดือน แต่สามารถปลูกพืชไร่และพืชผักบางชนิดได้ในช่วงฤดูแล้งหลัง
การเก็บเกี่ยวข้าวแล้วไม่เหมาะที่จะปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น เพราะมีน้ำท่วมขังลึกในฤดูฝน อย่างไรก็ตามสามารถเปลี่ยนสภาพการใช้ประโยชน์จากนาข้าวเป็นปลูก
พืชไร่ ไม้ผล และพืชผักได้ ถ้าได้มีการพัฒนาที่ดิน โดยการทำคันดินรอบพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมและยกร่องปลูกเพื่อช่วยการระบายน้ำของดิน

             การจัดการกลุ่มชุดดินที่ 3
             ปลูกข้าวหรือทำนา เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินปฏิบัติเหมือนกลุ่มชุดดินที่ 1 และแก้ไขเนื้อดินเหนียว โดยหว่านปุ๋ยอินทรีย์ ก่อนปลูกข้าว
ทั่วแปลงอัตรา 1.5-2.0 ตัน/ไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีกับพันธุ์ข้าวไวแสงและพันธุ์ข้าวไม่ไวแสง ใช้ปุ๋ยสูตร และอัตราเดียวกับที่ปฏิบัติในกลุ่มชุดดินที่ 1

             ปลูกพืชไร่ กรณีทำการปลูกในช่วงฤดูแล้งหรือกรณีเปลี่ยนพื้นที่นาเป็นพื้นที่ทำไร่ถาวรให้ยกร่องปลูก และทำร่องรอบกระทงนา เพื่อระบายน้ำออก
ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1.5 - 2.0 ตัน/ไร่ การยกร่องและการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการปลูกพืชไร่ ในกลุ่มชุดดินที่ 2 การใช้ปุ๋ยเคมี เช่น ข้าวโพด
ข้าวฟ่าง ใช้สูตร 20-20-0 กรณีดินมีฟอสฟอรัสต่ำ อัตรา 25 กก./ไร่ ใส่รองก้นหลุมทั้งหมดหรือใส่ข้างแถวแล้วพรวนดินกลบโคน เมื่ออายุ 25-30 วัน
ถ้าดินมีฟอสฟอรัสสูง ใส่สูตร 21-0-0 อัตรา 40-60 กก./ไร่

             พืชตระกูลถั่ว ใส่สูตร 0-46-0 อัตรา 15-20 กก./ไร่ ตอนปลูกหรือหลังปลูก 20-25 วัน

             อ้อย สำหรับอ้อยปลูกใส่สูตร 20-10-10 อัตรา 50 กก./ไร่ ใส่ครั้งเดียว เมื่ออายุ 30-60 วัน สำหรับอ้อยตอ ใช้สูตร 10-5-5 อัตรา 40-50 กก./ไร่
ใส่ครั้งเดียว

             ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น เตรียมพื้นที่ปลูกเพื่อแก้ปัญหาการระบายน้ำของดินและน้ำท่วมขัง ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเตรียมพื้นที่ปลูก
พืชไร่ที่ได้กล่าวมาแล้ว

             มะม่วง ส้มเขียวหวาน ใช้สูตร 15-15-15 ต้นอายุ 1-2 ปี ใส่ 1 กก./ต้น/ปี ต้นอายุ 3 ปี ใส่ 1.5 กก./ต้น/ปี ต้นอายุ 5 ปี ใส่ 2.5 กก./ต้น/ปี
โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง

             มะพร้าว อายุ 1-2 ปี ใช้สูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 กก./ต้น/ปี อายุ 3-6 ปี ใช้สูตร 13-13-21 อัตรา 2-3 กก./ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี

             ส้มโอ ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่ 2 ครั้ง/ปี ดังนี้ อายุ 1 ปี ใช้อัตรา 1 กก./ต้น อายุ 2 ปี ใช้อัตรา 2 กก./ต้น อายุ 3 ปี ใช้อัตรา 3 กก./ต้น อายุ 4 ปี
ใช้อัตรา 4 กก./ต้น อายุ 5 ปี ใช้อัตรา 5 กก./ต้น

             พืชที่เหมาะสมกับชุดดิน   ถั่ว, อ้อย, ฝ้าย, ส้มเขียวหวาน, มะพร้าว, ส้มโอ, ปาล์น้ำมัน, ข้าวฟ่าง

   -  การคมนาคม
           ตำบลท่าช้าง มีถนนลาดยางเชื่อมจากอำเภอนครหลวง ไปยังอำเภอท่าเรือซึ่งมีระยะทาง 20 กิโลเมตร และมีถนนลูกรังระหว่างหมู่บ้านและลาดยาง
จากตำบลบ่อโพง ไปยังอำเภอท่าเรืออยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำ ริมแม่น้ำไปยังอำเภอท่าเรือซึ่งมีระยะทาง 18 กิโลเมตร การคมนาคมไม่ค่อยมีปัญหา การคมนาคม
ของตำบล มีการคมนาคมทางบกเป็นหลัก สำหรับเดินทางและขนส่งผลิตผลการเกษตรออกสู่ตลาดแยกเป็น
               - การติดต่อกับอำเภอใกล้เคียง ใช้ทางหลวงท้องถิ่น ถนนลาดยางสภาพดี เชื่อมทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 32 ติดต่อกับตัวจังหวัด
               - การติดต่อภายในตำบลใกล้เคียง ใช้ทางหลวงท้องถิ่น ถนน ก.ส.ช. ถนนคันคลองชลประทานได้โดยสะดวก
               - มีรถยนต์โดยสารประจำทาง 2 สาย วิ่งผ่านตำบลสายอำเภอท่าเรือ - อยุธยา และสายวัดดงหวาย - อยุธยา
  -  แหล่งน้ำ
   แหล่งน้ำที่ใช้ในการอุปโภค - บริโภค และเพื่อการเกษตรในตำบลท่าช้างนั้น อาศัยน้ำฝนและน้ำจากแม่น้ำป่าสัก 1 สาย คลองชลประทาน 1 สาย
 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น สามารถใช้อุปโภค บริโภค ได้แก่ ประปาหมู่บ้าน 3 แห่ง
 

         Next