บทบาทหน้าที่ของสำนักงานเกษตรอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 บทบาทหน้าที่ของสำนักงานเกษตรอำเภอ
        
  1. วางแผนและส่งเสริมการวางแผนการผลิตการเกษตรในอำเภอ
          2. ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร องค์กรเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนเกษตรของชุมชน
          3. ส่งเสริมและประสานถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิต การจัดการผลผลิตพืช ประมง และปศุสัตว์
          4. ให้บริการและส่งเสริมอาชีพการเกษตรทุกสาขา
          5. ปฏิบัติงานร่วมกัน หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 หน้าที่ของแต่ละฝ่าย แบ่งงานภายในออกเป็น 1 ฝ่าย 4 กลุ่ม
          ฝ่ายบริหารทั่วไป
 มีหน้าที่ รับผิดชอบการปฏิบัติงานบริหารทั่วไป ได้แก่ งานธุรการ งานสารบรรณ งานการเงินและบัญชี งานพัสดุและยานพาหนะ การจัดทำและบริหารงบประมาณ งานพิมพ์และแจกจ่ายเอกสาร งานการเจ้าหน้าที่ งานประชุมและงานประสานราชการทั่วไป ของสำนักงาน

          กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ มีหน้าที่
         
 1. ศึกษาวิเคราะห์และจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรด้านการผลิตพืช การพัฒนาอาชีพของเกษตรกรและส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เพื่อผนวกเป็นแผนพัฒนาอำเภอ
          2. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบูรณาการงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอ
          3. พัฒนาสารสนเทศระดับจังหวัด รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล สถานการณ์การปลูกพืช ผลผลิตการเกษตรวิสาหกิจชุมชนและข้อมูลมือสองอื่น ๆ
          4. ประสานงานและสนับสนุนการดำเนินงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรงานวิจัย และพัฒนาในอำเภอ
          5. สนับสนุนการปฏิบัติงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนของชุมชน
          6. สนับสนุนในการจัดทำแผนงาน/โครงการส่งเสริมการเกษตร และการจัดทำข้อมูลสารสนเทศระดับตำบล
          7. ติดตาม ประเมินผล รวบรวมและรายงานผลการดำเนินงานในภาพรวมของสำนักงานเกษตรอำเภอ
          8. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

          กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร มีหน้าที่
          
1. ศึกษา วิเคราะห์ และวางแผนการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร องค์กรเกษตรและเครือข่ายให้เข้มแข็ง
          2. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำแผนชุมชนและการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเกษตรของชุมชน
          3. ปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร รวมทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรของอำเภอ
          4. ส่งเสริม สนับสนุนและประสานการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล
          5. ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่และให้บริการข้อมูลสารสนเทศการเกษตร
          6. ประสานและดำเนินงานโครงการพระราชดำริและพื้นที่เฉพาะ และช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติ
          7. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

          กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต มีหน้าที่
          
1. ศึกษา วิเคราะห์ และวางแผนการผลิตและจัดการผลผลิตพืช ขั้้นพื้นฐาน
          2. ศึกษา พัฒนา และคัดเลือกรูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
          3. ดำเนินการส่งเสริม และประสานการถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิตและจัดการผลผลิตพืช ขั้นพื้นฐาน
          4. ดำเนินการตามแผนงาน โครงการและมาตรการด้านการส่งเสริมการผลิตการจัดการผลผลิตและการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร
          5. ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการส่งเสริมการผลิตและจัดการผลผลิตในพื้นที่
          6. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

          กลุ่มอารักขาพืช มีหน้าที่
         
 1. ศึกษา วิเคราะห์ และวางแผนการดำเนินงานด้านการอารักขาพืช ในจังหวัด และดำเนินการตามแผน โครงการและมาตรการการอารักขาพืช
          2. สำรวจ ติดตาม เฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชและประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดศํตรูพืช
          3. ศึกษา พัฒนารูปแบบและวิธีการจัดการศัตรูพืชที่เหมาะสมกับท้องถิ่นและถ่ายทอดเทคโนโลยีการอารักขาพืชให้เกษตรกร
          4. ให้บริการตรวจ วินิจฉัยศัตรูพืชและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีการอารักขาพืช
          5. ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานด้านการอารักขาพืชในอำเภอ
          6. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย