ถิ่นกำเนิดหลวงพ่อโต  แดนตะโกดัดงาม  เย็นสายน้ำนามป่าสัก  วิวสวยนักเขื่อนพระรามหก

หน้าหลัก

  บทบาทหน้าที่ของสำนักงานเกษตรอำเภอ
ข้อมูลอำเภอ
แหล่งท่องเที่ยว
อัตรากำลัง    โครงสร้างหน่วยงาน
วิสัยทัศน์     บทบาทหน้าที่
การดำเนินกิจกรรม 5 ส.
รายงานการประชุมสำนักงานประจำเดือน (DM)
ข้อมูลตำบล/ต้นทุนการผลิต   
ศูนย์บริการฯ 
ที่ตั้งหน่วยงาน
ารจัดการความรู้ (KM Action Plan)
ข้อมูลการผลิตข้า
      
แผนที่ Zoning
แผนพัฒนาการเกษตรระดับอำเภอ

เกษตรทฤษฎีใหม่
ข้อมูลการผลิตพืช (ยกเว้นข้าว)
ารดำเนินงานส่งเสริมการผลิตพืชปลอดภัย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปี 2566

ข้อมูลทะเบียนเกษตรกร, ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตร
ข้อมูลแปลงใหญ่
ข้อมูล 3 ก
ข้อมูล Young Smart Farmer
 วิสาหกิจชุมชน  
ข้อมูล Smart Farmer
ทำเนียบอกม. (ระดับอำเภอ)
ข้อมูล ศจช.      
ข้อมูล ศดปช
ข้อมูล ศพก.
 
 

บทบาทหน้าที่ของสำนักงานเกษตรอำเภอ

       บทบาทหน้าที่ของสำนักงานเกษตรอำเภอ
        
  1. วางแผนและส่งเสริมการวางแผนการผลิตการเกษตรในอำเภอ
          2. ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร องค์กรเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนเกษตรของชุมชน
          3. ส่งเสริมและประสานถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิต การจัดการผลผลิตพืช ประมง และปศุสัตว์
          4. ให้บริการและส่งเสริมอาชีพการเกษตรทุกสาขา
          5. ปฏิบัติงานร่วมกัน หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

       หน้าที่่ของแต่ละฝ่าย แบ่งงานภายในออกเป็น 1 ฝ่าย 4 กลุ่ม
          ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่ รับผิดชอบการปฏิบัติงานบริหารทั่วไป ได้แก่ งานธุรการ งานสารบรรณ งานการเงินและบัญชี งานพัสดุและยานพาหนะ การจัดทำและบริหารงบประมาณ งานพิมพ์และแจกจ่ายเอกสาร งานการเจ้าหน้าที่ งานประชุมและงานประสานราชการทั่วไป ของสำนักงาน

          กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ มีหน้าที่
         
 1. ศึกษาวิเคราะห์และจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรด้านการผลิตพืช การพัฒนาอาชีพของเกษตรกรและส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เพื่อผนวกเป็นแผนพัฒนาอำเภอ
          2. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบูรณาการงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอ
          3. พัฒนาสารสนเทศระดับจังหวัด รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล สถานการณ์การปลูกพืช ผลผลิตการเกษตรวิสาหกิจชุมชนและข้อมูลมือสองอื่น ๆ
          4. ประสานงานและสนับสนุนการดำเนินงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรงานวิจัย และพัฒนาในอำเภอ
          5. สนับสนุนการปฏิบัติงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนของชุมชน
          6. สนับสนุนในการจัดทำแผนงาน/โครงการส่งเสริมการเกษตร และการจัดทำข้อมูลสารสนเทศระดับตำบล
          7. ติดตาม ประเมินผล รวบรวมและรายงานผลการดำเนินงานในภาพรวมของสำนักงานเกษตรอำเภอ
          8. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

          กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร มีหน้าที่
          
1. ศึกษา วิเคราะห์ และวางแผนการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร องค์กรเกษตรและเครือข่ายให้เข้มแข็ง
          2. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำแผนชุมชนและการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเกษตรของชุมชน
          3. ปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร รวมทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
ส่งเสริมการเกษตรของอำเภอ
          4. ส่งเสริม สนับสนุนและประสานการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี
การเกษตรประจำตำบล
          5. ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่และให้บริการข้อมูลสารสนเทศการเกษตร
          6. ประสานและดำเนินงานโครงการพระราชดำริและพื้นที่เฉพาะ และช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติ
          7. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

          กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต มีหน้าที่
          
1. ศึกษา วิเคราะห์ และวางแผนการผลิตและจัดการผลผลิตพืช ขั้้นพื้นฐาน
          2. ศึกษา พัฒนา และคัดเลือกรูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
          3. ดำเนินการส่งเสริม และประสานการถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิตและจัดการผลผลิตพืช ขั้นพื้นฐาน
          4. ดำเนินการตามแผนงาน โครงการและมาตรการด้านการส่งเสริมการผลิตการจัดการ
ผลผลิตและการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร
          5. ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการส่งเสริมการผลิตและจัดการผลผลิตในพื้นที่
          6. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

          กลุ่มอารักขาพืช มีหน้าที่
         
 1. ศึกษา วิเคราะห์ และวางแผนการดำเนินงานด้านการอารักขาพืช ในจังหวัด และ
ดำเนินการตามแผน โครงการและมาตรการการอารักขาพืช
          2. สำรวจ ติดตาม เฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชและประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดศํตรูพืช
          3. ศึกษา พัฒนารูปแบบและวิธีการจัดการศัตรูพืชที่เหมาะสมกับท้องถิ่นและถ่ายทอด
เทคโนโลยีการอารักขาพืชให้เกษตรกร
          4. ให้บริการตรวจ วินิจฉัยศัตรูพืชและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีการอารักขาพืช
          5. ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานด้านการอารักขาพืชในอำเภอ
          6. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย