...คำขวัญกรมส่งเสริมการเกษตร "กรมส่งเสริมการเกษตรมีคนอยู่ทั่วทิศ เป็นมิตรแท้ของเกษตรกร"...
สำนักงานเกษตรอำเภอบางบาล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Email - bangban_05@hotmail.com     โทรศัพท์/โทรสาร 0-3530-7787

ประวัติความเป็นมา

อำเภอบางบาล เป็นหนึ่งใน 16 อำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2488 เดิม ชื่อ"อำเภอเสนาใน" ตั้งอยู่ที่ตำบลผีมด (ตำบลไทรน้อย ปัจจุบัน) จนเมื่อปี พ.ศ.2453 ได้ย้ายที่ทำการอำเภอไปอยู่ที่ ม.5 ต.บางบาล ซึ่งนายเขียว บางบาล ได้บริจาคที่ดินเพื่อให้ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอ จึงได้เปลี่ยนจากอำเภอเสนาในเป็น"อำเภอบางบาล" ตามนามสกุลของผู้ที่บริจาคที่ดิน และประการหนึ่งคือ ได้มีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลเทศาภิบาลตามราชดำริ ของสมเด็จพระเจ้าบริมวงศ์เธอฯ และในปี พ.ศ. 2514 ได้มีการย้ายที่ว่าการอำเภอจากตำบลบางบาลมาอยู่ที่ หมู่ที่ 1 ตำบลมหาพราหมณ์ เนื่องจากสถานที่เดิมคับแคบจากอยู่ห่างจากศูนย์กลางของอำเภอ ทำให้การติดต่อของประชาชนไม่ได้รับความสะดวก ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอบางบาลในปัจจุบันที่วัดปากน้ำซึ่งเป็นวัดร้าง ทางอำเภอได้เช่าที่ดินวัดร้างจากกรมศาสนา จำนวนพื้นที่ 14 ไร่

เนื้อที่/พื้นที่ 135.305 ตร.กม.

สภาพทั่วไป                                      
          อำเภอบางบาลมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม    ไม่มีป่าไม้และภูเขามีแม่น้ำลำคลองไหลผ่าน   โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายสำคัญและคลองบางบาล   ซึ่งแยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา  มีระยะทางห่างจากรุงเทพฯประมาณ   90   กิโลเมตร    และห่างจากตัวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ประมาณ   12   กิโลเมตร   ฝนจะตกมากในช่วงเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม   และฝนจะแล้งในช่วงเดือนมกราคม - เมษายน ของทุกปี  ลักษณะดินจะเป็นดินร่วนปนเหนียว  และมีดินร่วนปนทรายตามชายฝั่งคลอง

สภาพดิน
          ลักษณะดินในท้องที่อำเภอบางบาล  ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนเหนียว  และมีดินร่วนปนดินทรายอยู่ตามชายฝั่งคลองบ้างเล็กน้อย  โดยมีชุดดิน  6  ชุดดิน คือ
                            1.  ชุดดินอยุธยา (6)  มีอยู่ทั่วไปในท้องที่อำเภอบางบาล  เป็นชุดดินที่มีอยู่มากที่สุดประมาณ  60%  ของพื้นที่ทั้งหมด  มีความลาดชัน  0-1%  ความลึกของดินลึกมาก  เนื้อดินเป็นดินเหนียว หรือดินร่วนเหนียว  สีของดินเป็นเทาดำ  ถึงดำปนเทา  มีจุดประสีเหลืองแดงและเหลืองเทา ที่ระดับความลึก  120  ซม.  การระบายน้ำช้ามาก  ความสามารถให้น้ำซึมผ่านช้าการะชะล้างมีอินทรีย์วัตถุค่อนข้างสูง  มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืช  ดินบนปานกลาง  ดินล่างค่อนข้างต่ำ  ปริมาณโปแตสเซี่ยมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชดินบนสูงมาก  ดินล่างสูงมาก  pH ของดินบน  4.5-7 ดินล่าง 4.0-5.0  เหมาะสำหรับปลูกข้าว  มีปัญหาเรื่องดินเป็นกรด  หรือดินเปรี้ยว  ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับปลุกพืชไร่  มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม
                            2.  ชุดดินสิงห์บุรี (21)  เป็นชุดดินที่มีอยู่ทั่วไป  รองลงมาจากชุดดินอยุธยาอยู่ในท้องที่ตำบลน้ำเต้า  พระขาว  บ้านคลัง  กบเจา  วัดยม  บางชะนี  บางบาล  ไทรน้อย  บางหลวงโดด  และบางหัก  มีความลาดชัน  0-1%  ความลึกของดินลึกมาก  เนื้อดินเป็นดินเหนียวตลอดชั้น  สีของดินเป็นสีเทาเข้มปนน้ำตาล  และมีจุดประสีน้ำตาล  หรือเหลืองปนแดงการระบายน้ำเร็วความสามารถในการให้น้ำซึมผ่านปานกลาง กระชะล้างช้ามีอินทรีย์วัตถุปานกลางมีปริมาณฟอสฟอรัสที่มีประโยชน์ต่อพืช  ดินชั้นบนปานกลาง  ดินชั้นล่างต่ำ  มีปริมาณโปแตสเซี่ยมที่มีประโยชน์ต่อพืช  ดินชั้นบนสูงมาก  ดินชั้นล่างสูง  pH  ของดินชั้นบน  5.5-6.5  ชั้นล่าง 4.5-5.5  เหมาะสำหรับปลุกข้าว  มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม  ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่
                            3.  ชุดดินบางปะอิน  (25)  เป็นชุดดินที่มีมากเป็นอันดับที่ 3  แต่ส่วนมากจะอยู่บริเวณแม่น้ำลำคลอง  มีอยู่ทั่วไปในท้องที่อำเภอบางบาล  มีความลาดชัน 0-1%  ความลึกของดินลึกมาก  เนื้อดินเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายตลอดทั้งชั้น  สีของดินเป็นสีเทาเข้มปนน้ำตาล  หรือน้ำตาลตลอดทั้งชั้น  มีจุดประสีน้ำตาล  และสีเหลืองปนแดงที่ผิวดิน  ส่วนชั้นใต้ดินมีจุดสีแดงการระบายน้ำค่อนข้างเลว  ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืช  ดินบนปานกลาง  ดินล่างต่ำ  ปริมาณโปแตสเซี่ยมที่เป็นประโยชน์ต่อพืช  ดินบนสูงมาก  ดินล่างสูงมาก  pH ของดินบน 5.5-6.5  ดินล่าง 5.1-6.0  เหมาะสมสำหรับปลูกข้าวมีปัญหาเรื่องน้ำท่วม  ค่อนข้างเหมาะสมสำหรับปลุกพืชไร่
                            4.  ชุดดินเสนา (8)  เป็นชุดดินที่มีอยู่ในท้องที่  ตำบลไทรน้อย  วัดยม  และพระขาว  มีความลาดชัน 0-1%  ความลึกของดินลึกมากเนื้อดินเป็นดินเหนียวตลอดชั้น  สีของดินเป็นสีเทาดำเข้มถึงดำมีจุดประสีน้ำตาล  หรือน้ำตาลปนแดง  และน้ำตาลปนเหลือง  ที่ระดับความลึก  150  ซม.  การระบายน้ำช้ามาก  ความสามารถให้น้ำซึมผ่านช้าและชะล้างช้ามีอินทรีย์วัตถุปานกลาง  มีระดับน้ำใต้ดินที่ระดับความลึก  100 ซม.  เป็นเวลา  1-2 เดือน  มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืช  ดินบนปานกลาง  ดินล่างต่ำ  ปริมาณโปแตสเซี่ยมต่อพืช ดินบนสูงมาก  ดินล่างสูงมาก  pH ของดิน  ดินบน 4.5-5.0  ดินล่าง 4.0-4.5  เหมาะสมสำหรับปลุกข้าว  มีปัญหาเรื่องดินเป็นกรดหรือดินเปรี้ยวไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่  มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม
                            5.  ชุดดินราชบุรี  (16)  เป็นชุดดินที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  มีอยู่ในท้องที่ตำบลบ้านกุ่ม  และไทรน้อย  มีความลาดชัน 0-1%  ความลึกของดินลึกมาก  เนื้อดินเป็นดินเหนียว  หรือดินเหนียวปนน้ำตาล  การระบายน้ำค่อนข้างเลว  ความสามารถให้น้ำซึมผ่านช้า  อินทรีย์วัตถุปานกลาง  ปริมาณ
โปแตสเซี่ยม  ดินบนสูง  ดินล่างสูง  pHของดิน  ดินบน  5.5-6.5  ดินล่าง  6.0-7.0  เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว  มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม  ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่  การระบายน้ำไม่ดี
                            6.  ชุดดินท่าม่วง  (11)  เป็นชุดดินที่มีอยู่จำนวนน้อยที่สุด  มีในท้องที่ตำบลบางหัก  เพียงตำบลเดียวทางด้านทิศเหนือ  มีความลาดชัน 1-2%  ความลึกของดินลึกมาก  เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียว  ดินร่วนเหนียวปนทราย  และดินร่วนปนทรายแป้ง  สีของดินเป็นสีน้ำตาล  หรือน้ำตาลปนเทา  มีจุดประสีซีด  ที่ระดับความลึก  50 ซม.  การระบายน้ำดีปานกลาง  ความสามารถให้น้ำซึมผ่านปานกลาง  การชะล้างช้า  มีอินทรีย์วัตถุปานกลาง  ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืช  ดินบนสูงมาก  ดินล่างสูงมาก  ปริมาณโปแตสเซี่ยมที่เป็นประโยชน์ต่อพืช  ดินบนสูงมาก  pH ของดิน  ดินบน  5.5-6.5  ดินล่าง 6-7  ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับปลูกข้าว  เหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่  มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม

การคมนาคม
          อำเภอบางบาลสามารถเดินทางได้  2  เส้นทาง
                            1.  การคมนาคมทางบก
                                    -  ทางหลวงแผ่นดินสายอยุธยา - อ่างทอง
                                    -  ทางหลวงจังหวัดสายอยุธยา-บางบาล-เสนา
                                    -  ถนนคันคลองชลประทาน

                            2.  การคมนาคมทางน้ำ
                                    -  อาศัยแม่น้ำลำคลอง  ได้แก่  แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำน้อย  คลองบางหลวง (คลองโผงเผง)  คลองบางปลาหมอ  และคลองบางบาล  ซึ่งสามารถใช้ได้ตลอดปี  ติดต่อได้ทุกตำบลและหมู่บ้าน

<<.....ก่อนหน้า