

#ใบ เริ่มแรกใบธง (ใบอ่อน) แสดงอาการเหี่ยวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง จากนั้นใบล่างๆ จะแสดงอาการเหี่ยวอย่างรวดเร็วแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและยืนต้นตายในที่สุด
#เครือ ปลีกล้วยแคระแกร็น และหากติดผล ผลจะลีบ เนื้อภายในมีสีน้ำตาลจนถึงดํา บางผลมีอาการฉ่ำน้ำและเน่าเละ ปลายผลมีสีเหลืองต่อมาเปลี่ยนเป็นสีดํา หากอาการรุนแรงมาก จะทําให้ไม่ได้ผลผลิต
#ลําต้นเทียม เมื่อตัดลําต้นดูจะเห็นท่อน้ำท่ออาหารเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล อาการที่หน่อ ยอดหน่อมีสีดํา หน่อแคระแกร็น และตายในที่สุด
หน่อพันธุ์ ดิน น้ำ แมลง อุปกรณ์ทางการเกษตร ยานพาหนะ เกษตรกร
1. ทําลายกอกล้วยที่เป็นโรคโดยใช้สารกำจัดวัชพืช และโรยปูนขาว 5 กิโลกรัมต่อกอ ตรงบริเวณโคนและรอบรากต้นกล้วยที่เป็นโรค
2. ต้นกล้วยที่เป็นโรค หากมีปลี หรือเครือกล้วย ให้ใช้ถุงพลาสติกคลุม ป้องกันแมลงพาหะ
3. ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในดินโดยใช้ยูเรีย 0.5 กิโลกรัม ผสมกับ ปูนขาว 5 กิโลกรัมต่อกอ โรยให้ทั่วกอ กลบดินบริเวณกอกล้วยให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม ทิ้งไว้ 3 สัปปดาห์ ครบกำหนดใช้จอบสับดินใช้แก๊สพิษที่อยู่ในดินออกมา แล้วปลูกพืชได้ตามปกติ
4. ใช้หน่อกล้วยปลอดเชื้อ
5. รดด้วยชีวภัณฑ์บาซิลัส ซับทีลิส สายพันธุ์ BS-DOA 24 อัตรา 50 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร รดให้ทั่วรอบต้นและรดซ้ำทุก 30 วัน นาน 12 เดือน
6. ทําความสะอาดเครื่องมือ และอุปกรถ์ทางการเกษตรโดยใช้น้ำยาฟอกขาว เช่น ไฮเตอร์ อัตรา 250 มิลลิลิตรผสมน้ำ 3 ลิตร
7. ไม่เดินจากต้นที่เป็นโรคไปยังต้นที่ไม่เป็นโรค หากจําเป็นต้องเดินให้ฆ่าเชื้อที่รองเท้าก่อน
ที่มา : กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ศทอ.สงขลา